แนวทางการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบการอภิปรายผล ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสังคมและชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมและด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ พบว่า ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ (X3) ด้านบทบาทท้องถิ่น (X4) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .110 และ .068 ตามลำดับ และ 3) ควรศึกษาสภาพแวดล้อม สภาพที่ดินอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรตามแผนงานโครงการ โดยมีการติดตามและประเมินผลให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์ โดยกรมการเกษตรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเทคโนโลยีมาการพัฒนา และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีประชาสัมพันธ์สื่อสารใหม่ๆ และการแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดกติกาข้อตกลง จัดประชุม/เวทีประชาคมหารือและแนวทางแก้ไขปัญหา ประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการหรือแก้ไขปัญหาการพัฒนาเกษตรกรและจัดตั้งกองทุนส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
จริยา โนนแดง และสมพันธ์ เตชะอธิก. (2562). การดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มข้าวกล้องอินทรีย์ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
นภาพร เวชกามา และธีระรัตน์ ชิณแสณ. (2561). การพัฒนาการทำนาข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรผสมผสาน 4 หมู่บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิมพิดา โยธาสมุทร. (2552). บทวิเคราะห์: โอกาสการส่งออกข้าวไทยในวิกฤตอาหารโลก. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.
แพรวรินทร์ มหาวรรณ์. (2551). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัยจากสารพิษของโครงการหลวงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ยุธยา อยู่เย็น, ปิยาภรณ์ วรานุสันติกูล, สุนทร เทียนงาม, ชาญชัย ตรีเพชร และตระกูล รัมฉัตร. (2556). การพัฒนาการทำนาข้าวอินทรีย์ ชุมชนตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(2), 185–192.
สมนึก ปัญญาสิงห์ และเศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2565). การจัดการของกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรมบ้านโนนทรายงาม. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 1-19.
สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology, 8(6), 1-16.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/udonthani-dwl-files-432891791823.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.