การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชน ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T- test) และการตรวจสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่า คุณลักษณะด้านการรณรงค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือด้านการป้องกัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านส่งเสริมการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาอาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กัญญา ภู่ระหงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพซ้ำของผู้ติดยาเสพติดในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 25, 32(2), 24-40.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
กิตติยา รินเพ็ง และปวิช เฉลิมวัฒน์. (2561). บทบาทหน้าที่ของผู้นําชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน/ชุมชน อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “GRADUATE SCHOOL MINI-CONFERENCE 2018 (น. 91-101). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จักรพงษ์ ฟองชัย. (2544). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาการบริหารงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ของสถานีตำรวจภูธรในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเลย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
เดชา หรสิทธิ์. (2554). การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอธาตุพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครพนม).
ภัทระ เหล่ามีผล. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดปทุมธานี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วรจักร จันทาทอง. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลนครอุบลราธานี จังหวัดอุบลราชธานี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
วุฒิชัย สอนประสาน. (2547). การมีส่วนรวมในการแก้ไขปัญหายาบ้าของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดราชบุรี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2540 -2544) ฉบับที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุกัลยา ทองนุ้ย. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโรงเรียนโพนงามศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษมัธยมศึกษา เขต 23. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
สุภาพร สุขสมใจ. (2563). แนวทางป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(1), 17-33.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. (2565). ข้อมูลตำบลหนองแซง. สืบค้นจาก https://www.tambon-nongsang.org.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.