แนวทางการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุข และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านงานบริการด้านสุขภาพ ด้านงานบริหาร และด้านงานวิชาการ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 3) แนวทางการกระจายอำนาจ พบว่า (1) ต้องกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (2) สร้างกลยุทธ์และการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติ (3) ตรวจสอบกระบวนการทุกขั้นตอน (4) นำกลยุทธ์ไปปรับใช้และวางแผนงานสู่การปฏิบัติ (5) กำหนดนโยบายหลักของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ (6) ส่งเสริมวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับนโยบาย (7) ดำเนินงานและการประเมินผลงาน และสรุปผลการประเมินร่วมกันอย่างเป็นระบบ (8) ประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการจัดสรรทุนหรืองบประมาณ และ (9) กระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างจริงจัง
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ของประชาชนในเขตอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33–48.
ธีรศักดิ์ คันศร และ กุลชญา ลอยหา. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(3), 25-35.
เพ็ญศรี โตเทศ. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบาน (อสม.) 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561. นครสวรรค์: ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์.
สมยศ นาวีการ. (2545). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
เอกพันธ์ คำภีระ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน. พยาบาลสาร, 48(1), 174-186.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.