ความพึงพอใจต่อสวัสดิการ ของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา ทองทา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สวัสดิการ, กำลังพล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสวัสดิการของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ และ 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อสวัสดิการของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลการวิจัยพบว่า กำลังพลส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามมีช่วงอายุระหว่าง 26 - 33 ปี เป็นนายทหารชั้นประทวน มีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ระหว่าง 10,000 - 15,000 บาท มีตำแหน่งอยู่ฝ่ายปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 50 และมีอายุราชการอยู่ระหว่าง 4 - 6 ปี ผลความพึงพอใจของกำลังพลพบว่า มีความพึงพอใจต่อสวัสดิการของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.88, SD = .78) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กำลังพล มีอายุต่างกัน มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 , มีประเภทชั้นยศต่างกัน มีความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน , มีสถานภาพการสมรสต่างกัน มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 , ระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน , มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน , มีตำแหน่งต่างกัน มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 , มีอายุราชการต่างกัน มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสวัสดิการทหารบก. (2556). คู่มือการสวัสดิการและสิทธิกำลังพลกองทัพบก. กรุงเทพฯ: กองทัพบก.

กรมสวัสดิการทหารบก. (2560). คู่มือการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลและครอบครัวของกองทัพบก. กรุงเทพฯ: กองทัพบก.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการพัฒนาสังคมสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ.

กิตติ จอมคีรี. (2555). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวนสังกัดกรมการทหารสื่อสาร. รัฐประสาศานศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

เกศณี วงศาโสภา และวิชิต บุญสนอง. (2563). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยบัญชาการ ทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 6(2). หน้า 223 – 241.

ฉลองรัฐ นาคอาทิตย์. (2552). การเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของข้าราชการกองทัพบก ปีงบประมาณ 2552. ภาค นิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารจัดการสาธารณะ, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรศักดิ์ สระบัวทอง. (2563). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ ต่อสู้อากาศยาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6(2). หน้า 165 – 181.

ณัฐกฤตย์ แจงกลาง. (2556). การจัดสวัสดิการพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยบูรพา. งานนิพนธ์รัฐศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพล ไกรวาส. (2560). คุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์. รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณกานดา ธัญเจริญ. (2558). การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการของบุคลากรกรมการบินพลเรือน. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ณัฐศักดิ์ ขันอาสา. (2560). การจัดการสวัสดิการกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิ่มนวล อยู่สบาย (2554). ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล อำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารงานท้องถิ่น, วิทยาลัย การบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัชนัย ทองอู๋ และอนุรักษ์ เรืองรอบ. (2563). ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจ และความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของกำลังพล สังกัดกรมกำลังพลทหารบก. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏจันทรเกษม. 15(1). หน้า 61 - 73.

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมพุทธศักราช 2551. (2551, 31 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 40

พินิจ เพชรสน. (2553). ความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2556). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์: หลักการ วิธีปฏิบัติและสถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: คัมอิน.

ภิญโญ สาธร. (2526). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

เมตตา กฤตวิทย์, กาญจนา แก้วเทพ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2530). ทฤษฎีแม่บททางนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เย่น แสงใสแก้ว. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านหนองกันจอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1. ศรีสะเกษ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สลักจิต ภู่ประกร. (2555). ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจ.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2523). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สิทธิพร ชัยสุวรรรัตน์. (2542). ความพึงพอใจและความต้องการพัฒนาสวัสดิการของพนักงาน บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (ศึกษาเฉพาะกรณี: พนักงาน บมจ. ธนาคารกสิกรไทยเขต 28). สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหา บัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารนโยบายสวัสดิการสังคม, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดาศิริ วศวงศ์. (2537). คำบรรยายกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

สุพจน์ บุญวิเศษ. (2558). การจัดสวัสดิการขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร การเมืองการบริหารและกฎหมาย, 7(1), หน้า 25 - 36

สุวพิชญ์ แสงแก้ว. (2555). ความพึงพอใจในสวัสดิการและค่าตอบแทนของบุคลากรสำนักงานศาลปกครอง. วารสาร พิฆเนศวร์สาร, 8 (2), หน้า 107 - 118

Adams, J. S. (1965). Inequity in social expchange. New York: Academic Press.

Huse, E. F., & Cummings,T.G. (1985). Organization development and change. Minnesota: West Publishing.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd ed). New York: Harper and Row.

McGregor, D. (1960). The human side of enterprise. New York: Mcgraw-Hill.

Pearson, D. P., & Johnson, D. D. (1978). Teaching reading comprehension. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York: John Wiley.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3th ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-06-2024