คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, พนักงานเทศบาล, จังหวัดชลบุรีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานของเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาป่า จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 161 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบแบบ t - test, F - test (One - way ANOVA) และการตรวจสอบหาความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ Least Significant Difference test (LSD)
คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความภูมิใจในองค์การ ด้านสภาพที่ทำงานที่ปลอดภัย ด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านลักษณะการบริหารงาน ด้านภาวะอิสระจากงาน และด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ตามลำดับอส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาป่า จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า พนักงานที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรเพศ ไม่แตกต่าง ที่ระดับนัยทางสถิติระดับ .05 ข้อเสนอแนะควรพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยส่งเสริมด้านการศึกษาลดภาระงานให้แก่พนักงานที่กำลังศึกษาต่อ เพิ่มค่าตอบแทน เงินประจำตำแหน่ง หรือค่าล่วงเวลาให้สูงขึ้น ส่งเสริมสวัสดิการของพนักงานโดยเฉพาะค่าพาหนะเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าโบนัสท้ายปี และค่าเล่าเรียนบุตรในโอกาสพิเศษต่าง ๆ และโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งจากผลงาน มากกว่าการพิจารณาจากความสนิทสนม แบบระบบอุปถัมภ์
References
กนกวรรณ ซาเหลา. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง กรณีศึกษา สำนักงานเขตพญาไท. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กมล ประสมศรี. (2563). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2. คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กัณฑวรรณ ชุ่มเชื้อ. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
เกื้อกูล ชั่งใจ. (2558). ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทํางานเสริมคุณภาพชีวิตในการทํางานของบุคลากรของบุคลากรสํานักงานเลขาธการสภาการศึกษา. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา: สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
คณาวุฒิ อินทร์แก้ว และศุภวรรณ กุศลธรรมรัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ฉัตรภรณ์ กาทองทุ่ง. (2560). สภาพแวดล้อมการทำงานและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทก่อสร้าง. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ชยาวัฒ เกียรติกมลมาล์ย และสุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2565). แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา เฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมบริการ. Dusit Thani College Journal, 15(1).
ชุดา บรรทม. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการพลเรือนในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
โชติกา นามบุญเรือง. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธร จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณิชชา ทรงพร และอารง สุทธาศาสตร์. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานขนส่งสินค้า ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2).
ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
ธันวนี ประกอบของ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิก ของบุคลากรโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นราธิป ผินประดับ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1).
นฤชยา กณาพันธุ์ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(1), 48 - 56.
นัทกร ไชยธงรัตน์, ลลิตา นิพิฐอ ประศาสน์ สุนทร วิภา ต. (2022). คุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานของบุคลากรกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย เวสเทร์น มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, 8(3), 44 - 55.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบล ท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. งานนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานและ ความผูกพันต่อองค์การและความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารนักบริหาร, 37(1), 83 - 96.
ปุณยนุช พิมใจใส, มัณฑนา เทวาโภคิณกุล และอัจฉรา ศรีสุภรกรกุล. (2564). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรพร ศรีสุระพล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) และมีอาการออฟฟิศซินโดรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิณโย ทองงาม. (2559). คุณภาพชีวิตในการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2561). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ลักการ วิธีปฏิบัติ สถิติ และคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพบูลย์ เหล็กพรหม และสุชาติ ใจภักดี. (2563). ความรู้เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น และวัฒนธรรมทางการเมือง. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
มธุริน แจ่มแจ้ง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การมีจิตสำนึกของตนเอง คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาริสา ตาแก้ว. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาบุคลากรสํานักงานทางหลวงที่ 18. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
เมธากร ศรียะพันธุ์. (2563). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์ปรัชญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2559). ความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน: กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(1).
วัชรินทร์ อินทพรหม, วณิฎา แช่มลำเจียก, พัลมล สินหนัง, รวิกานต์ อำนวย และเฉินบิ๊กถ่าว. (2558). รูปแบบและโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบไทยกับเวียดนาม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1).
วารุณี แดบสูงเนิน. (2559). ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร การเสริมสร้างพลังในงานและคุณภาพการให้บริการของพยาบาลระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศตนันท์ คงทอง. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการในปฏิบัติงาน ของข้าราชการศาลยุติธรรมในพื้นที่จังหวดนนทบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศิริไชย ศักดิ์ดา. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเทศบาลในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และจรัมพร โห้ลำยอง. (2555). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทํางานในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ จันรจนา และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสาร สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 160 - 174.
สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สากล พรหมสถิตย์ม, สถาพร วิชัยรัมย์ และธนากร เพชรสินจร. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 3(1).
สายชล คงทิม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน.
การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.
สุจิตรา อรุณมาก, สมเกียรติ วันทะนะ และโกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1).
สุภัสศรณ์ พนมไพรพฤกษา. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์.
อรัญญา ออมสินสมบูรณ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการทหารกรมแพทย์ทหารบก. สาขาวิชาเอกบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ และ ชุดาพร สอนภักดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธั นวาคม 2565
อัชราวดี ชูถนอม. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อาทิตยา เปี่ยมส้ม. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เอกลักษณ์ ชมภูชัย. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรกรณีศึกษา พนักงานที่ทำงานอยู่ภายในการดูแลของบริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (แมนพาวเวอร์ สาขาลำพูน). งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.