การกำหนดคุณสมบัติที่ปรึกษากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน
คำสำคัญ:
คุณสมบัติที่ปรึกษากฎหมาย, คดีอาญา, เด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติที่ปรึกษากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน โดยพิจารณาจากปัญหา (1) วัยวุฒิของทนายความผู้ที่จะมาทำหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมาย (2) ความชำนาญในคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิด (3) ประสบการณ์ในการใกล้ชิดเด็กและเยาวชน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการการกำหนดคุณสมบัติที่ปรึกษากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน
ผลการศึกษาพบว่า ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมาย การจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติที่ปรึกษากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน (1) ไม่มีบทกำหนดอายุขั้นต่ำของทนายความผู้ที่จะมาทำหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายซึ่งจะทำให้เกิดความรอบครอบในการดำเนินคดี (2) ไม่มีบทกำหนดที่ปรึกษากฎหมายจะต้องมีความชำนาญในคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาญาเพื่อความรู้ความเข้าใจในการพิจารณาคดี และ (3) ไม่มีบทกำหนดในด้านประสบการในการใกล้ชิดเด็กและเยาวชนหรือเคยมีบุตร หรือเคยอบรมเลี้ยงดูเด็ก หรือเคยทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
ดังนั้น จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมาย การจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556 ข้อ 12 ผู้สมัครเข้ารับการอบรมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (6) อายุ ไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันสมัครเข้ารับการอบรม (7) มีความชำนาญในคดีอาญาโดยผ่านการดำเนินคดีอาญามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 คดี (8) มี หรือเคยมีบุตร หรือเคยอบรมเลี้ยงดูเด็ก หรือเคยทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2548). รายงานสถิติคดี พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรม.
กฤษณา อิสรสระเสรี. (2530). แนวทางในการให้สงเคราะห์หลังปล่อยแก่เด็กและเยาวชน ศึกษากรณีสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โชคชัย ตั้งรักษาสัตย์.(2553).ปัญหาการใช้บังคับพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ.2553 ศึกษาเฉพาะมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญ. หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารใน ศาลชั้นต้น รุ่นที่ 10 สำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2555.
ณรงค์ ใจหาญ. (2543). การถามปากคำเด็กในคดีอาญา : หลักกฎหมายและทางปฏิบัติ. วารสารนิติศาสตร์, 3 (30): 350 - 359.
ณัฐนันท์ ทองทรัพย์.(2558). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนในคดีอาญา ศึกษาเฉพาะพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2558
ดิษพล การวัฒน์เจริญ. (2557). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ของทนายความในการคุ้มครองเด็ก และเยาวชน. วารสาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิตปีที่ 10 ฉบับที 2 (2557): พฤษภาคม - สิงหาคม 2557.
เทพ สามงามยา. (2550). หลักการพื้นฐานที่เหมาะสมในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนในชั้นศาล. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทนงศักดิ์ ดุลยกาญจน์ และพรรณพิไล พาหุสัจจะลักษณ์. (2547). คดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน (แพ่ง - อาญา). พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2540). บทบาทบิดามารดาเยาวชนที่กระทำความผิดกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเพราะ แสงเทียน.(2546). คำอธิบายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ปัญจพัฒน์ บัวพวงชน. (2547). บทบาทที่ปรึกษากฎหมายในคดีอาญาในการเสนอความจริงต่อศาลเยาวชน และ ครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ.(2542).คำอธิบายพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และ ครอบครัว พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สยามปริ้นติ้งกรุฟ.
พรชัย ขันตี และคณะ. (2543). ทฤษฎีและงานวิจัยทางอาชญวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คเนท.
ไพโรจน์ ปัญจประทีป. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการกระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองเปรม และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). อาชญวิทยา และทัณฑวิทยา เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 4 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ร. แลงกาต์, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2526), น.95.
วิชา มหาคุณ. ศาลเยาวชนและครอบครัวตามแนวความคิดสากล. พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนา กระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, 2541) หน้า 48 - 49.
สุชาติ แนวประเสริฐ. (2552). สิทธิการมีที่ปรึกษากฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการตั้งที่ปรึกษากฎหมายในศาลเยาวชน และครอบครัว.วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุธินี รัตนวราห์. (2531). กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน. คณะนิติศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุดสงวน สุธีสร. (2546). อาชญวิทยาและงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทิศ สุภาพ. (2545). การนำปรัชญาอาชญวิทยามาใช้ในการกำหนดโทษของศาลไทย ศึกษากรณีผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ร้าย และผู้กระทำผิดโดยพลั้งพลาด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรนุช อ่อยอารีย์. (2550).ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชนและครอบครัว. หลักสูตรนิติศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัญชนา จันทร์ประเสริฐ. (2553). การคุ้มครองเด็กในการสอบปากคำชั้นสอบสวนคดีอาญา. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตรม หาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553 หน้า 9 - 11.
กฎหมาย / พระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมาย การจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556 ราชกิจจานุเบกษา 11 มีนาคม 2556 หน้า 12 เล่ม 130 ตอนที่ 22 ก
เอกสารระหว่างประเทศ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights, 1966)
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989 (The United Nation Convention on the Rights of the Child, 1989)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC) กฎอันเป็นมาตรการขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวแก่คดีเด็กและเยาวชน (กฎแห่งกรุงปักกิ่ง)