การใช้ประทุษวาจาในกลุ่มนิสิต : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิริพร จิรารัตนกุลชัย

คำสำคัญ:

ประทุษวาจา, นิสิตนักศึกษา, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อการใช้ประทุษวาจา ด้านการใช้ ถ้อยคำ ด้านการใช้น้ำเสียง / วาจา / คำพูดที่รุนแรง ด้านระดับการใช้คำประทุษวาจา และด้านการใช้เนื้อหา และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตต่อการใช้ประทุษวาจา จำแนกตามเพศ และอายุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้คือ นิสิตที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงเป็นความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ สมมติฐาน โดยใช้สถิติ One - Way ANOVA

               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนิสตเพศหญิง อายุ 17 - 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ภาค ตะวันออก ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ ใช้ระยะเวลาในการเล่นจำนวน 4 - 6 ชั่วโมง ต่อวัน และมีเหตุผลการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น ของนิสิตต่อการใช้ประทุษวาจา ด้านการใช้ถ้อยคำ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นการเปิดรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ประทุษวาจา (Hate Speech) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.62, SD = 0.56) ด้านการใช้ น้ำเสียง / วาจา / คำพูดที่รุนแรง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการพบเห็นการใช้ประทุษวาจาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 2.19, SD = 0.73) ด้านการใช้เนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าข้อคำถาม โดยภาพรวมไม่เหมาะสม และด้านระดับการใช้คำประทุษวาจา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นของการใช้คำประทุษวาจา ระดับความ รุนแรงของคำพูด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.87, SD = 0.34) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นิสิตที่มี เพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ประทุษวาจา ด้านการใช้ถ้อยคำ ด้านการใช้คำประทุษวาจา ด้านการใช้เนื้อหา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่ด้านการใช้น้ำเสียง / วาจา / คำพูดที่รุนแรง มีความแตกต่างกันทีระดับ นัยสำคัญทางสถิติ .05 จึงนำมาทดสอบรายคู่ ด้วยวิธี (Post Hoc Multiple Comparisons) พบว่านิสิตเพศหญิงมี ความคิดเห็นต่อการใช้ประทุษวาจา ด้านการใช้น้ำเสียง / วาจา / คำพูดที่รุนแรง แตกต่างจากเพศชาย และบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศ และผลการทดสอบนิสิตที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ประทุษวาจา ด้านการใช้ ถ้อยคำ ด้านการใช้น้ำเสียง / วาจา / คำพูดที่รุนแรง ด้านการใช้คำประทุษวาจา ด้านการใช้เนื้อหา พบว่า ไม่แตกตาง กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

References

กชพรรณ มณีภาค และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2562). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทาผิดในโลก อินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาการรังแกกนในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขต กรุงเทพมหานคร. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 11(2), 95 - 105.

กติกา เลี้ยงสกุล, มยุรีลัคนาศิโรรัตน์ และ วิชัย อารับ. (2564). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความรุนแรงในสถานที่ทางานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายของรัฐแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 4(1), 117 - 133.

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา. (2021). จำนวนนิสิต ปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/home.asp.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ: กรุงเทพฯ: โรงพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เข็มพร วิรุณราพนธ์. (2562). Fake News "ไวรัส" สังคม - สะท้อนเหลื่อมล้ำ. เขาถึงได้จาก http://www.cp- enews.com/news/details/cpnews/2694.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). คาพดเกลียดชังในโลกดิจิทัล (Digital Hate Speech). เขาถึงได้จาก

https://www.scimath.org/article-technology/item/10962-digital-hate-speech.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2555). ความเกลียดชงออนไลน์ในความขดแยงทางการเมืองของไทย. รายงานวิจัย เรื่อง ความ ลี้ลับของข้อมูลข่าวสารฯ (ปี ที่ 2). สถาบนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 24 พฤษภาคม 2555.

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2553). โครงสร้างทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เด็กและเยาวชนถูกกระทำในโรงเรียน

: กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง. ดุษฏีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐกานต์ จนทรศิริพุทธ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ กับการเผชิญปัญหาของ เหยื่อ : อิทธิพลส่งผ่านของการประเมินทางปัญญาโดยมีความเป็นนิรนามของผู้กระทำเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรัณภพ เพียรจัด, วราภรณ์ สินถาวร และ จิรัชญา โคศิลา. (2563). การส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับการกลั่น แกล้งบนโลกออนไลน์ และการใช้ประทุษวาจาของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนใน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(19), 24 - 32.

ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2559). พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนจังหวัดอุบลราชธานี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรมะ สตะเวทิน. (2541). ความหมาย ความสำคัญ วัตถประสงค์และประเภทของการสื่อสารในเอกสารการสอนชุด วิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร: นนทบุรี: โรงพิมพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปวริศร์ กิจสุขจิต. (2559). ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการรังแกกันในโรงเรียนมัธยมสตรีในกรุงเทพมหานคร ตามแนว ทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์แอลเอเคอร์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , 27(1), 72 - 80.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ในมิติสังคมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจเนอเรชั่น Z. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปุลวิทย์ วาณิชยเศรษฐกุล. (2557). การจากัดการพูดซึ่งมีเจตนาในทางเกลียดชัง : ศึกษาการวินิจฉัยตีความของกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,

พรชนก ดาวประดับ และ กัลยกร วรกุลลฏฐานีย์. (2561). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 3, 63 - 78.

พินวา แสนใหม่. (2563). การรังแกทางไซเบอร์ ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทางการจัดการปัญหา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิรงรอง รามสูตร. (2558). "ประทุษวาจา" กับโลกออนไลน์: กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการ

พัฒนา / (โครงการจัดพิมพ์คบไฟ).

ภัทรกานต์ ภัทรดำรง. (2559). การเปิดรับและความคิดเห็นต่อเนื้อหาประทุษวาจา (Hate speech) ของผู้รับสารสื่อออนไลน์: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจ “หยุดดัดจริตประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์วารสารศาตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัทนา นันตา และ พิรงรอง รามสูตร. (2557). เวบไซต์ ยูทูบ (ภาษาไทย) การสื่อสารความเกลียดชัง. Journal of Communication Arts, 32(3), 39 - 67.

เมธินี สุวรรณกิจ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองเด็ก และเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 49 - 70.

วรพงษ์ วิไล และ เสริม ศิรินิลดา. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. CRRU Journal of Communication, 1(2), 1 - 24.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอดดูเคชั่นอินโดไซน่า.

สรานนท์ อินทนนท์ และ พิลนี เสริมสินสิริ. (2561). การศึกษาวิธีการป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. Paper presented at the การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงนวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (8 มิถุนายน 2561).

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech): บริษัทวอลคออน คลาวด์ จำกัด.

สิริกมล นวลมณี. (2560). ประทุษวาจาเชิงวิพากษ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์กรณีศึกษาพระเทพญาณมหามนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย). ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุจิตรา แก้วสีนวล และ ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2564). ความสามารถในการตอบสนองทางดิจิทัลต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และประทุษวาจาออนไลน์ของเด็ก : ศึกษาเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางการเรียนในจังหวัด เชียงใหม่ และจงหวัดสงขลา. Journal of Information Science, 39(4), 1 - 26.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : กรุงเทพฯ: ห้างหุนส่วนจำกัดสามลดา.

สุรชัย ตรัยศิลานนท์. (2552). ปัจจััยที่มีผลต่อการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนกวิชา เทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2557). การพูดเพื่อการสื่อสาร: กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2555). บทสรุปจากการจัดเวทีอภิปรายสาธารณะ ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทย ช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง ในหัวข้อ พรมแดนของ free speech และ hate speech ในการแสดงความ คิดเห็นทางการเมืองอยู่ตรงไหน? . เขาถึงได้จาก https://ilaw.or.th/node/1046.

หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาสัมพันธ์: กรุงเทพฯ: โรงพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิเดช เตปิน และ สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงจากปฏิบัติการต่อคนเห็นต่าง และปฏิบติการโตกลับโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. Journal of Social Work, 26(2), 251 - 274.

Coliver S., Boyle, K., & D'Souze, F. (1992). Striking a Balance: Hate Speech, Freedom of Expression, and Non-Discrimination: Article 19, International Centre Against Censorship, Human Rights Centre, University of Essex.

Cortese, A. (2006). Opposing hate speech. Greenwood. de Sola Pool, I., Frey, F. W., Schramm, W., Parker, E. B., & Maccoby, N. (1973). Handbook of communication. Chicago: Rand McNally College Publishing.

Garcia, A., & Jacobs, J. B. (1998). The interactional organization of computer mediated communication in the college classroom. Qualitative Sociology, 21(3), 299-317.

Guichard, A. (2009). Hate crime in cyberspace: the challenges of substantive criminal law. Information & Communications Technology Law, 18(2), 201-234.

Haupt, C. E. (2005). Regulating hate speech-damned if you do and damned if you don't: Lessons

learned from comparing the German and US approaches. BU Int'l LJ, 23, 299.

Herz, M., & Molnár, P. (2012). The content and context of hate speech: Rethinking regulation and responses. Cambridge.

KEMP, S. (2021). Digital 2021 july global statshot report. Retrieved from https://datareportal.com/reports/digital-2021-july-global-statshot.

Labaree, R. V. (1994). The regulation of hate speech on college campuses and the Library Bill of Rights. The Journal of Academic Librarianship, 19(6), 372-377.

Maslow, A. H. (1958). A Dynamic Theory of Human Motivation. Understanding Human Motivation, Howard Allen Publishers, (pp. 26-47). Howard.

Newman, S. L. (2002). Liberty, community, and censorship: Hate speech and freedom of expression in Canada and the United States. American Review of Canadian Studies, 32(3), 369-396.

Rogers, C. R. (1969). Freedom to learn. Columbus, OH: Charles E. Merrill.

Social, W. A. (2022). Digital 2022 Thailand (February 2022) v01. Retrieved from https://www.slideshare.net/DataReportal/digital-2022-thailand-february-2022-v01.

Timofeeva, Y. A. (2002). Hate speech online: restricted or protected-comparison of regulations in the United States and Germany. J. Transnat'l L. & Pol'y, 12, 253.

Vroom, V., Porter, L., & Lawler, E. (2005). Expectancy theories. Organizational Behavior, 1, 94 - 113.

Walker, S. (1994). Hate speech: The history of an American controversy. California: University of Nebraska Press.

Weintraub-Reiter, R. (1998). Hate speech over the Internet: A traditional constitutional analysis or a new cyber constitution. BU Pub. Int. LJ, 8, 145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-06-2024