กระบวนการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, จังหวัดชลบุรีบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษากระบวนการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ในจังหวัดชลบุรี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน และ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสนทนากลุ่ม จำนวน 19 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของกระบวนการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านความสอดคล้องกระบวนการ ด้านการสอดส่องดูแล และด้านกลไกในการจัดการความขัดแย้ง ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านการรับรู้และให้สิทธิแก่ผู้ใช้ทรัพยากร ด้านการได้รับผลจากการจัดการทรัพยากร ด้านกติกาและการจัดการทรัพยากร ด้านการลงโทษอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านความชัดเจนของขอบเขต ตามลำดับ 2) ปัญหาของกระบวนการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขัดแย้งเรื่องสิทธิ 4 ประเภท คือ เกิดปัญหาสิทธิในการเข้าใช้ทรัพยากร ปัญหาสิทธิในการใช้ประโยชน์จากระบบทรัพยากร ปัญหาสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิทธิในการกีดกันทางทรัพยากรรธรรมชาติ ปัญหาสิทธิในการขายหรือให้ยืมสิทธิ มีการละเมิดสิทธิที่ยังไม่ได้รับอนุญาต 3) การเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยการศึกษาค้นคว้าปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมคิดหาและสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา ร่วมวางนโยบายหรือแผนงาน ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากร ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงาน ร่วมการลงทุนในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อม และร่วมควบคุมติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการ
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561-2564. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กฤติน จันทร์สนธิมา และอรทัย อินต๊ะไชยวงค์. (2559). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน : ศึกษาเฉพาะกรณี ป่าชุมชน บ้านคลองห้วยหวายอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 9(1), 58-79.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ชล บุนนาค. (2555). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิด ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2525). ทบทวนการพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดีแอนด์เอส.
อารตี อยุทธคร, (2564). ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและเครือข่ายทุนจีนข้ามชาติ, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2544). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปาริชาติ อินสว่าง อนุวัตร จินตกสิกรรม และเอกชัย ระดาพัฒน์. (2560). สภาพปัญหาข้อจำกัดในปัจจุบันและทิศทางแนวโน้มในอนาคตของการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).กรุงเทพมหานคร.
เพ็ญนภา สวนทอง. (2561). การศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : มุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(2). 95-118.
Ostrom Elinor. (1990). Governing the commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. UK: Cambridge University Press.
Moustakas, C. (1994). Phenomenological Research Methods. Thousand Oaks, CA: Sage.
Yamane, Taro.(1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York : Harper and Row.