ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขต เทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ขวัญอ่อน
  • อุษณากร ทาวะรมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรีในการจัดการขยะมูลฝอย และเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จานวน 385 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า , 1.ความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า (1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.92) โดยประชาชนเห็นด้วยมากกับการมีธนาคารขยะ เพราะถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการลดปริมาณขยะมูลฝอย และยังเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน/ชุมชน ( =4.14) (2) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองบ้านบึงในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.76) โดยประชาชนเห็นด้วยมากกับการที่เทศบาลเมืองบ้านบึงออกระเบียบข้อกฎหมายเกี่ยวกับขยะมูลฝอย ได้แก่ เทศบัญญัติเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย และมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ( =4.16) และ ประชาชนเห็นด้วยน้อย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนต้องเป็นหน้าที่ของเทศบาลเมืองบ้านบึงเท่านั้น ( =2.31) , 2.การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน พบว่า (1) ประชาชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.61) โดย ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะแต่ละประเภทอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.24) รองลงมาคือ มีการแยกและนาถุงพลาสติกที่ถูกใช้งานแล้ว กลับมาใช้งานใหม่ซ้ำ อยู่ในระดับมาก ( =4.14) และ บ้านมีถังขยะหรือภาชนะรองรับขยะมูลฝอยอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก ( =4.06) ตามลำดับ (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยกับเทศบาลเมืองบ้านบึงในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.48) โดยประชาชนมีการเข้าร่วมประชุมประชาคมเพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองบ้านบึง อยู่ในระดับมาก ( =4.01) รองลงมาคือ เคยร่วมกิจกรรมหรือโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนที่เทศบาลเมืองบ้านบึงจัดขึ้น อยู่ในระดับมาก ( = 3.91) และ ประชาชนมักจะแสดงความคิดเห็นหรือมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนงานหรืองบประมาณในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองบ้านบึง อยู่ในระดับมาก ( = 3.73) ตามลำดับ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2548). เกณฑ์มาตรฐานและแนวทางการจัดการมูลฝอยชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 6).

กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

กัลยาณี อุปราสิทธิ์. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปัญหาพิเศษสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ : กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

โกศล โมมา. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพลส.

เจมส์ แอล. เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์, ดร.ถวิลวดี บุรีกุล, ผศ.ดร.เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สารมวลชล.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชีพ ศิริ. (2549). การการจัดการขยะในเขตเทศบาลตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณิชชา บูรณสิงห์. (2560). นโยบายประชารัฐ : แนวทางการจัดการขยะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ตระกูล มีชัย. (2538). การกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. หน้า 16, หน้า 37 – 55, หน้า 85 – 93, และหน้า 99 – 103

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2562). แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะ 1 ปี (ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563). ชลบุรี: เทศบาลเมืองบ้านบึง

เทศบาลเมืองบ้านบึง. (2564). ข้อมูลสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านบึง. เข้าถึงได้จาก http://www.banbueng.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=11&Itemid=64

ธิดารัตน์ ปลื้มจิตต์. (2551) การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริการซ่อมบํารุงและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิริราช. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

นฤมล ด่านตระกูล. (2560). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในองค์กรบริหารส่วนตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม ,คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

บพิธ นาโควงศ์. (2560). ความคิดเห็นของประชำชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของ เทศบาลตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาราชภัฏสกลนคร.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบำลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัทมา สูบกําปัง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

พัฒนา มูลพฤกษ์. (2539). อนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : หจก.เอ็นเอส.แอล. พรินติ้ง.

ราชบัณฑิตสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ล้ำศักดิ์ ชวนิชย์. (2531). การจัดการขยะมูลฝอย. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนาะ แก้วคง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลบางวัวคณารักษ์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำอางค์ นันทแสง. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-06-2024