คุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้ ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้กลุ่มประชากรจากผู้ที่มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนราษฎรอำเภอสิชล ปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีดมีประชากรรวมทั้งสิ้น 10,098 คน ผ่านการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป Taro Yamane (1973) ด้วยการกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และกำหนดระดับความคลาดเคลื่อน (e) 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด
1) ด้านร่างกาย พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.835 ถือว่าอยู่ในระดับดี 2) ด้านจิตใจ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.79 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ 0.883 ถือว่าอยู่ในระดับดี 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ 0.872 ถือว่าอยู่ในระดับดี 4) ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ 0.815 ถือว่าอยู่ในระดับดี 3. ผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้จำนวน 4 ข้อ และไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้จำนวน 1 ข้อ แสดงให้เห็นว่าประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนการศึกษาการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีระดับคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน
References
กฤษฎากมล ชื่นอิ่ม. (2555). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผ้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน
จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาล เวชปฏิบัติ
ชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยคริสเตียน.
กญญารัตน์ อุบลวรรณ. (2540). พฤติกรรมการดู แลตนเองและคุณภาพชีวิตของผ้สูงอายุ ในภาคกลาง
ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลผู้ใหญ่
มหาวิทยาลัยมหิดล.
จักรี สวางไพร. (2525). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทํางานครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสํานักงาน
คณะกรรมการการอุ ดมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ : สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมืองและ
การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยบูรพา.
เจษฎา บุญทา. (2545). คุณภาพชีวิตผ้สูงอายุ ในตําบลหอพระอําเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้า
แบบอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชาญชัย อินทรประวัติ. (2547). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. นครราชสีมา : เอเชียสาส์น.
ชิดชัย ไชยรัตน์. (2536). คุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านนาหนํ่า บ้านโนน
ธาตุและบ้านห้วยสูน อําเภอฟาท่าจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุมพร ฉํ่าแสงและคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์
การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี จังหวัดนครนายก. โครงการวิจัยเพื่อ
พัฒนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2557). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์ แพทย์
พัฒนา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทัวไป วิทยาลัยการ
บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทรงศักดิ์ ทองพันธ์. (2555). คุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจภูธรบ้านตาขุน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. (2554). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
ทิพย์อรุณ สมภู่ . (2552). คุณภาพชีวิตของผ้สููงอายุ : กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผ้สู งอายุ ในเขต
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะ
สังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาธรรมศาสตร์.
นิพนธ์ คันธเสวี. (2526). คุณภาพชีวิต ประมวลบทความวิชาการ : การศึกษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :
ประชาชน.
เบญจวรรณ คุณรัตนาภรณ์. (2540). คุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจําเดือนในเขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และ เด็ก
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประภาพร จินันทุยา. (2536). คุณภาพชีวิตของผ้สูงอายุ ในชมรมทางสังคมผ้สูงอายุ เขตดินแดง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หม่ 11 ตําบล
ท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง. สารนิพนธ์สาขาการบริหารและนโยบาย สวัสดิการสังคม
ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของ เกษตรกร
ชาวสวนปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ภาคใต้. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาแม่โจ้จังหวัด ชุมพร.
พัณณิน กิตติพราภรณ์. (2531). นานาทรรศนะ : ธุรกิจเพื่อคุณภาพชีวิต...ของใคร.วารสาร เศรษฐกิจและ
บริหารธุรกิจ.
มณัฐกร คงทอง. (2554). คุณภาพชีวิตของผ้สูงอายุ : กรณีศึกษาชุมชนริมทางรถไฟภายในเขต เทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสน
ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2536). วิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก จังหวัด
ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวลักษณ์ กลิ่นหอม. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งในการมองโลก
ของสมาชิกครอบครัวผ้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.