ปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ จันมาธิกรกุล

คำสำคัญ:

การจ้างแรงงาน, ต่างด้าว, ไม่ถูกกฎหมาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งพิจารณาจาก (1) ปัญหาทางสังคมความเป็นอยู่ (2 ปัญหาด้านสาธารณสุข และ (3) ปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ การศึกษาวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิจัยจากเอกสาร ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เอกสารทางกฎหมาย ทำการวิเคราะห์เสนอแก้ไขกฎหมาย

               พบว่า ปัญหาการจ้างแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย มีปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาทางสังคมความเป็นอยู่ มีการแย่งงานกันเองระหว่างแรงงานต่างด้าว มีการลักทรัพย์ มีการทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา ทำให้คนไทยบางส่วนเกิดความหวาดกลัว (2) ปัญหาทางด้านสาธารณสุข จากการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศไทยซึ่งแรงงานที่เข้ามาโดยผิดกฎหมาย จะไม่มีการตรวจสุขภาพ ได้เป็นพาหนะนำโรคใหม่ๆ เข้ามาในประเทศไทย (3) ปัญหาทางด้านความมั่นคง จากการที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายจะ กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เกิดปัญหาในการกำกับดูแล ดังนั้นจึงควรแก้ไข พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มาตรา 29/1 ให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ประจำจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ แรงงานจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจ สรรพากร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายแพทย์ประจำโรงพยาบาล เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านแรงงานฯ เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวประจำจังหวัดเป็นเลขานุการ มาตรา 30/1 คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวดังต่อไปนี้ (1) กำหนดนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (2) กำหนดนโยบายพิจารณารับสมัครคัดเลือกแรงงานต่างด้าว จากความรู้ ความสามารถ (3) จัดอบรมความรู้ให้แก่แรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับกฎหมาย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น (4) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมาย

References

กานต์มณี ไวยครุฑ. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในเขตพื้นที่ จังหวัดสระแก้ว.วารสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 53 เมษายน – มิถุนายน 2557. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กีรติ เชาว์ตฤษณาวงษ์. (2556). วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของแรงงานข้ามชาติในสังคมไทย เขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการประกอบการมหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556.

กุศล สุนทรธาดา.(2541). พฤติกรรมสุขภาพของชาวไทยบนพื้นที่สูง. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ

จันทรานี สงวนนาม.(2549). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษา โรงเรียนสิริวุฒิวิทยา จังหวัดสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย ราชภัฎธนบุรี.

ชัยพงษ์ สำเนียง. (1-03-2556). สถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. สถาบันศึกษานโยบาย

สาธารณะ ม.เชียงใหม่ [อออนไลน์] www.siamintelligence.com/thai-labor-migration-status/

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2548).เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารเล่ม 1, นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวิช เปล่งวิทยา. (2530). จิตวิทยาผู้นำ.กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.

นิสกา ม่วงพัฒน์. (2558). การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว: อุปสรรคและแนวทางแก้ไข .รายงานส่วนบุคคล โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 7 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2543). การจัดการอุตสาหกรรม และการผลิต. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏพระนคร.

พระมหาแพง เตชสีโล: .(2557). ได้ทำวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์).

พัชราวลัย วงศ์บุญสินและคณะ.(2554). โครงการวิจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน.สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.2554.

มัลลิกา ต้นสอน. (2547). การจัดการยุคใหม่, กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา.กรุงเทพมหานคร

: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

วาทินี แก้วทับทิม. (2553). ผลกระทบจากการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุคพิสูจน์สัญชาติ

รายงานทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 86 เดือนกันยายน 2553

ศิริพร สัจจานันท์ และคณะ. (2557). การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี

สมคิด บางโม. (2545). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2558). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตตสาหกรรมปี 2558 และแนวโน้ม ปี 2559

สำนักงานแรงงานจังหวัดชุมพร.ขั้นตอนคนต่างด้าวเข้าทำงานในประเทศไทย [ออนไลน์]

chumphon.mol.go.th/en/blank_job 03-03-2560

สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ: TOEA. [ออนไลน์] www.overseas.doe.go.th/15-03-

สมสกุล เบาเนิด และคณะ. (2546). การจัดการแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการแปรรูปอาหาร

ทะเล ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภางค์ จันทวานิช (2540). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษานโยบายเรื่องการเคลื่อนย้ายประชากรและ

ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทย.กรุงเทพฯ:ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียงสถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนี ฉัตราคม.(2523). เศรษฐศาสตร์แรงงานระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริรัฐ สุกันธา. (2547). การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กฎหมาย / พระราชบัญญัติ/ประกาศ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ราชกิจจานุเบกษา 6 เมษายน 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 . ราชกิจจานุเบกษา 31 กรกฎาคม 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 79 ก.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2561 เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 8 ก/หน้า 1/20 กุมภาพันธ์ 2541.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107/ตอนที่ 161/ตอนพิเศษ หน้า 1/1 กันยายน 2533.

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96/ตอนที่ 28/ฉบับพิเศษ หน้า 45/1 มีนาคม 2522.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125/ตอนที่ 29 ก/หน้า 28/6 กุมภาพันธ์ 2551.

พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก หน้า 1 / 22 มิถุนายน 2560

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (หน้า 10 เล่ม 135 ตอนพิเศษ 28 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 กุมภาพันธ์ 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-06-2024