การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ แก้วเกื้อ
  • กิจฐเชต ไกรวาส
  • อาภาภรณ์ สุขหอม

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ความรับผิดชอบ, ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน, สวัสดิการ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยในครัวเรือน และชุมชนในพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก ต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรดอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา อาชีพรายได้เฉลี่ยต่อเดือร ระยะเวลาที่อาศัยในในชุมชน ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย และความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอย โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ หาค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย และร้อยละ (percentage) และทำการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้สถิติเชิงอนุมานผลการศึกษาวิจัย พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรดอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพรวมอยู่ในระดับดี ประเภทของขยะส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์รองลงมาขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักต่อการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งประชาชนมีความคาดหวังการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ให้มีการจัดการขยะตั้งแต่กระบวนการต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า ในพื้นที่ตำบล การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งมีระดับคะแนนความถี่ในการปฏิบัติการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการลดการเกิดขยะ (2) ด้านการคัดแยกขยะ (3) ด้านการเก็บรวบรวม/การนำกลับมาใช้ประโยชน์ และ (4) ด้านการกำจัดขยะ อยู่ในระดับดี ส่วนผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนที่มีเพศที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). เอกสารคู่มือแนวทางและข้อกำหนดเบื้องต้น การลดและใช้ประโยชน์ ขยะ.กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. ศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบลควนขัน อำเภอสตูล จังหวัดสตูล. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิตินันท์ เทียบศรี. (2564). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบล สำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต (การจัดการ สิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ธัญญ์ฐิตา ฤทธิ์นรเศรษฐ์. และคณะ (2549). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นฤมล ด่านตระกูล. (2560). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นภัส นํ้าใจตรง. (2563). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. งานนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

นัชชอร ภมรวิรัชต์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศราวุฒิ ทับผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-12-2024