พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลปากพูน อำเภอเมือ. จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวปากพูนบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สถิติ t-test สำหรับทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่มและใช้สถิติ One-way ANOVA สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก และด้านราคา อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านเกียรติภูมิ มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก และด้านการพักผ่อน อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ไม่เคยเดินทางมาก่อน รับทราบข้อมูลจากการบอกต่อจากคนรู้จัก/บุคคลใกล้ชิด ไม่ค้างคืน สถานที่ที่พักค้างคืนอำเภอเมือง เดินทางมาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์/วันหยุดนักขัตฤกษ์/วันหยุดเทศกาล เดินทางมาท่องเที่ยวกับคู่ครอง/ครอบครัว/ญาติ เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 4,000 บาทขึ้นไป การเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย แต่นักท่องเที่ยวที่มีอายุต่างกัน มีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์ และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาแผนการตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
กนต์ฐศิษฐ์ เลิศไพรงาม. (2556). การตลาดทางตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.
กันคพงศ์ คุ้มโนนชัย. (2565). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 165–172.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ชฎามาศ ขาวสะอาด และคณะ. (2562). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยเพื่อพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต : กรุงเทพฯ.
ชวัลนุช อุทยาน. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. (ระบบออนไลน์). https://touristbehaviour. wordpress.com/1/
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2547). ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2557). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เต็มสิริ ขำทอง. (2559). ข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึก (Consumer Insight) ของการโหยหาอดีตในการเดินทางโดยรถไฟของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนียา กิตติภาคย์พฤทธ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3),72.
ทิดชาย ช่วยบำรุง. (2558). องค์ประกอบด้านการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว. คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA).
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). ชุดโครงการ วาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาและจัดการ การท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ปี 2552. สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว :กรุงเทพฯ.
ธิดาภรณ์ ชัยเอียด. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. การศึษาอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
นวพร บุญประสม. (2564). แรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา: วัดสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 27(1), 113-114.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
เบญจวรรณ บวรกุลภา และคณะ. (2563). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการพัฒนาตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 “ฟื้นชีวิตคืนจิตวิญญาณทวาราวดี” วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวาราวดี วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จ.นครปฐม วันที่ 1 กันยายน 2562. หน้า 610-625.
ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรัชญา บุญเดช. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปิ่นฤทัย คงทอง และคณะ. (2566). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 5(1), 41-42.
แผนแม่บท 05. (2566). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
พงศธร เกษสำลี. (2543). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Handbook). กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พิมพรรณ สุจารินพงศ์. (2549). มัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พูนทรัพย์ เศษศรี. (2566). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(1), 56-57.
ภคมน หงส์คู. (2565). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภลักษณ์ อัครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2561). เอกสารการสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ราณี อิสิชัยกุล. (2546). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ การจัดการการท่องเที่ยว. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรพรรณ สงัดศรี. (2558). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในขุมชนบ้านหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ ระยับศรี. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยววัด ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภาวี อินทราคม. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันนโยบายสาธารณะ. (2566). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. (ระบบออนไลน์). https://ppi.psu.ac.th/upload/forum/20_2561-2580.pdf
สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2565-2570. นครศรีธรรมราช : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช.
สุกัญญา พวกสนิท และประสพชัย พสุนนท์. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12 (2), 203-204.
สุกัญญา พวกสนิท. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรีรัตน์ เตชะทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. เอกสารประกอบการสอน. ขอนแก่น. : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุไรดา กาซอ. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. กรุงเทพฯ : คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อรพรรณ แปลงเงิน. (2559). แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติ บนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา และนันทนาการ. คณะศิลปะศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี.
Kar. (2011). The 8 Ps of Services Marketing. Online available From http://business-fundas.com/2011/the-8-ps-of-services-marketing
Kotler, P. (2000). Marketing management (The millennium ed.). New Jersey: Prentice Hall International.
Lamb, Chrles W. , Joseph F. Hair. and Carl McDaniel. (2000). Markettng. 5th ed. Cincinnati : South- Western College.
Tourism Western Australia. (2008). Five A’s of Tourism. Retrieved 25 September 2016, from http://www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/pdf/Quickstart _five%20A%20of%20TourismLOW.pdf