ทัศนคติของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย กรณีศึกษา : นิสิตรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, นิสิต, การปกครองระบอบประชาธิปไตยบทคัดย่อ
งานวิจัยนนี้มีวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดชลบุรี ที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับทัศนคติของนิสิตรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดชลบุรี ที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) ศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย กรณีศึกษา : นิสิตรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดชลบุรี จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ , ค่าร้อยละ , หาค่าเฉลี่ย , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน , สถิติค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 20 – 24 ปี มีสถานภาพโสด มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในภาคตะวันออก และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนในสังกัดของรัฐบาล ระดับทัศนคติของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยภาพรวมมีทัศนคติอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการรู้การเข้าใจที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีทัศนคติอยู่ในระดับค่อนข้างสูง รองลงมาคือด้านพฤติกรรมที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีทัศนคติอยู่ในระดับค่อนข้าง และสุดท้ายคือ ด้านอารมณ์ที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
References
กมล สมวิเชียร. (2516). ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เกรียงศักดิ์ สุเมธอมรรัตน์. (2534). ระดับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของปลัดเทศบาล. สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารัฐกิจ, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์. (2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรบที่ 21. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมเกษตรแห่งชาติ.
คมสรรค์ กิจสมบูรณ์, นาวาอากาศเอก. (2549). ทัศนคติของข้าราชการต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย กรณีศึกษาเฉพาะข้าราชการทหารสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด. ภาคนิพนธ์รัฐคาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการเมืองการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คัคคพงศ์ ศรีพาณิชย์, พ.ต.อ.. (2544). ทัศนคติต่อ “การเมือง'’ ระบบอุปถัมภ์และการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย: ศึกษากรณีข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. และชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2518). ประชาธิปไตยของชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
จรูญ สุภาพ. (2519). ระบบการเมืองเปรียบเทียบ (ประชาธิปไตย: เผด็จการ) และหลักวิเคราะห์การเมืองแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
. (2528). ลัทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ (พิมพ์ครังที่ 2). กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
จักรกริช ใจดี, ร.ต.อ.. (2542). ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนิสิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2523). ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์กับการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
ชาญชัย รามโกมุท. (2522). ทัศนคติของนิสิตนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาชุมชน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์. (2530). ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมือง. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
เชาว์ โรจนแสง. (2539). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. เอกสารการสอนหน่วยที่ 7-15 สาขาวิทยาการจัดการ. (หน้า 602). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2520). การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2528). จิตวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. (2541). ปรัชญาของศาสนาอิสลามกับการพัฒนาวินัยและสร้างเสริมประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) (พิมพ์ครังที่ 2 ). กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
ตวิษา แย้มสะอาด. (2548). ความคิดเห็นต่อประชาธิปไตยในสังคมไทยของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นภาพล อัคนิทัต, เรืออากาศเอก. (2548). ทัศนคติของนักเรียนนายเรืออากาศต่อประชาธิปไตยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัฐกานต์ สุวรรณะโสภณ. (2548). บุคลิกภาพทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตรัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เนตรภัทร อ่วมเครือ. (2562). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สายเจริญพานิช.
บรรจง กลิ่นสงวน. (2547). การกล่อมเกลาทางการเมืองและทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปราณี รามสูตร. (2528). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนาการพิมพ์.
ปานไพลิน สิงห์หนองโดน. (2557). ทัศนคติของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษานิสิตรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิทยา บวรพัฒนา. (2542). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครังที่ 2). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ และคนอื่นๆ. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาสังคมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สยาม.
มนตรี ทองปรีชา, พ.ต.ต.. (2545). ทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จำกัด ที่มีต่อประชาธิปไตยในองค์กร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โยธิน มีจันทร์. (2525). ทัศนคติทางการเมืองของสมาชิกวุฒิสภาต่อระบอบประชาธิปไตยของไทย. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โยธิน ศันสนยุทธ และจุมพล พูลภัทรชีวิน. (2524). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
รวิช เมฆหมอก. (2563). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รวีวรรณ อังคนุรักษ์พันธุ์. (2533). การวัดทัศนคติเบืองต้น. ชลบุรี. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลลินธร กิจจาธิการกุล. (2522). ทัศนคติทางการเมืองของนักเรียนชันมัธยมศึกษาตอนปลาย.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขามัธยมศึกษา, คณะคุรุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วิทยากร เชียงกูล. (2532). พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ: ผลึก.
วินิจ ผาเจริญ. (2561). “ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและเนื้อหาของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยของนักศึกษารัฐศาสตร์การปกครอง ชั้นปีที่ 1 ภาคปกติและพิเศษ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.” วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 2(3), 43-46.
ศรีนวล เสมอภาค. (2553). ทัศนคติของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างในด้านการเป็นผู้นำของ
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์รัฐคาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2528). เจตคติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา
ศุภมาศ ชื่นสมบัติ. (2548). ทัศนคติของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพต่อการบริหาร เปลี่ยนแปลงภายในกรมศุลกากรในการนำเข้าระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ ในการปฏิบัติงาน. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สนธิ เตชานันท์. (2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมชัย ไตรพิทยากุล. (2542). ทัศนคติของนายทหารนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรพงษ์ สายวงศ์, ร.ต.อ.. (2544). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย: ศึกษาเฉพาะกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา รัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเส็ง.
อนุภัทร วิชัยดิษฐ. (2545). ทัศนคติของนิสิตบัณฑิตวิทยาลัยที่มีต่อประชาสังคม: กรณีศึกษานิสิต ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา รัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อเนก ทองสมบูรณ์. (2538). ทัศนคติที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมร รักษาสัตย์ และคณะ.(2539). ประชาธิปไตย: อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ferguson, L.W. (1952). Personality Measurement. New York : McGrew Hill Book Co.
Smith, E.C. & Arnold.Z. (1986). Dictionary of American Politics. New York: Barnes and Nobl