ปัญหากฎหมายในการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
คำสำคัญ:
เหตุรำคาญ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความหมายของเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผลการวิจัยพบว่า มีประเด็นปัญหาในการจัดการเหตุรำคาญ ดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการจัดการเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัญหาในการติดตามหลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการแก้ไขเหตุรำคาญไปแล้ว
ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่ได้จากการวิจัย โดย ควรมีการตรวจสอบการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยกระทรวงมหาดไทยควรมีหนังสือเวียน และต้นแบบของข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชนและประโยชน์สาธารณะ และนี้ ควรมีการดำเนินการติดตาม หลังจากมีการออกคำสั่งไปแล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย โดยอาจมีโทษทั้งทางแพ่ง และทางอาญากับผู้ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
References
เจนวิทย์ เขตเจริญ. (มปป). บทบาทและการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการจัดการ
เหตุรำคาญของราชการส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี. https://backoffice.udpho.org/
openaccess/control/download.php?id=ODM=
พรอนุรักษ์ สุทธิคณะ. (2554). กระบวนการทางกฎหมายในการควบคุมเหตุรำคาญโดยเจ้าพนักงาน
ท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการดำเนินงานด้านอนามัย
สิ่งแวดล้อม สำหรับสาธารณสุขอำเภอ 2 การจัดการเหตุรำคาญ และกิจการที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ.
เสกสรร ตันติวนิช. (2562). แนวคิดกระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวโน้ม
การปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. Journal of Administrative and Management,
(1), 80-85.
แสนทะนง อภิบาลศรี. (2565). ต้นแบบข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการบังคับใช้เหตุรำคาญตามกฎหมาย
ว่าด้วยการสาธารณสุข. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, 6(4), 292-301.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต