ปัญหาการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ศักดิ์ ฝอยทอง สำนักกฎหมายประสิทธิ์ศักดิ์ ฝอยทอง ทนายความ 129 หมู่ 7 บ้านนาตาล ตำบลเวียงเหนือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
  • ณัฐนิชา ฝอยทอง สำนักกฎหมายประสิทธิ์ศักดิ์ ฝอยทอง ทนายความ 129 หมู่ 7 บ้านนาตาล ตำบลเวียงเหนือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110

คำสำคัญ:

ไม้ยืนต้น, หลักประกัน, ธุรกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และวิวัฒนาการของหลักประกันหนี้ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน และเพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน

            ผลการวิจัยพบว่า การนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับมูลค่าของหลักประกัน ปัญหาเกี่ยวกับการประเมินราคา และปัญหาเกี่ยวกับการบังคับหลักประกัน

            ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่ได้จากการวิจัย โดยควรควรมีการปรับปรุงมูลค่าของไม้ยืนต้นที่จะนำมาเป็นหลักประกัน ควรมีการให้ผู้ผ่านการอบรมและเป็นผู้ประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นนั้น เข้ารับการอบรม ในทุก ๆ 5 ปี และ ควรมีการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับไม้ยืนต้นที่นำมาเป็นหลักประกัน

References

กำชัย จงจักรพันธ์. (2557). เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ. ศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด.

ชุมพล จันทราทิพย์. (2554). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

(พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระวิวรรณ ทวิชสังข์. (2562). ปัญหาหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2557.

ราชบัณฑิตยสถาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ฝอยทอง ป. ., & ฝอยทอง ณ. . (2025). ปัญหาการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(1), 33–47. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/sisaketlawjournal/article/view/1221