ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
คำสำคัญ:
การบังคับใช้กฎหมาย, การควบคุม, บุหรี่ไฟฟ้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา ประเภท และส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
ผลการวิจัยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าถูกคิดค้นโดย ฮอนลิค (Hon Lik) เภสัชกรชาวจีนเมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2003) โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่มีส่วนผสมของใบยาสูบ และประเภทที่มีส่วนผสมของใบยาสูบ
ซึ่งมีส่วนประกอบ ได้แก่ แบตเตอรี่ อะตอมไมเซอร์ แทงก์หรือคาร์ทริดจ์ คอยล์ และปากสูบ กฎหมายไทยมีมาตรการในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 4 ด้าน กล่าวคือ ควบคุมการนำเข้า ควบคุมการจำหน่ายหรือให้บริการ ควบคุมการครอบครองหรือรับฝากไว้ และการห้ามสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งมาตรการในการควบคุมทั้ง 4 ด้านดังกล่าวนี้คงมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายให้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ผู้วิจัยมีข้อเสอนแนะ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย โดยเฉพาะพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน กล่าวคือ การนำเข้า การจำหน่ายหรือให้บริการ การครอบครองหรือรับฝากไว้ และการห้ามสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ นอกจากนี้ ควรให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย และควรมีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ละเลยไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และโทษหนักกว่าประชาชนทั่วไป
References
กรมควบคุมโรค, กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. (2566). รายงานประจำปี 2566 กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ,กรมควบคุมโรค. ผู้แต่ง.
ธีรพล ทิพย์พะยอม และปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์. (2557). บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขสาสตร์, 44(3), 313-328.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2557). บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัย มหิดล.
พิชญ์เนตร เรขะวิชัยดิษฐ์. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรัตน์ ทองรอด. (2557). บุหรี่ไฟฟ้า. หมอชาวบ้าน, 36(424), 34-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต