พัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองของไทย
คำสำคัญ:
พรรคการเมือง, รัฐธรรมนูญ, เสรีภาพบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงพัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองของไทย ซึ่งพรรคการเมืองถือว่ามีบทบาทและหน้าที่สำคัญเริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย คัดเลือกผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อได้รับเลือกตั้งมาแล้วก็ทำหน้าที่ในการใช้อำนาจทางการเมืองทั้งเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้าน และรวมถึงการควบคุมสมาชิกพรรคให้อยู่ในระเบียบวินัย และเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาลในการนำเสนอการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนและการให้ความรู้ด้านการเมืองการปกครองแก่ประชาชน
จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองของไทย สามารถแบ่งออกเป็น 8 ช่วง คือ (1) ช่วงภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก่อนมีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง (2) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 (3) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 (4) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 (5) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 (6) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 (7) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และ (8) ช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า กฎหมายพรรคการเมืองของไทยควรมีระยะเวลาในการบังคับใช้ที่ยาวนานและไม่ควรยกเลิกกฎหมายบ่อยครั้ง ประกอบกับควรกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายที่มิให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการใช้สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
References
กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว. (2566). การยุบพรรคการเมืองตามระบบกฎหมายไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2563). การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองของประเทศไทย. ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2556). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2561). สุจริตเป็นเกราะกำบังศาสตร์พ้อง. ใน ความในใจของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์. (2557). กฎหมายพรรคการเมืองและผลกระทบต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพรรคการเมืองในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(1), 75-96.
ไพโรจน์ ชัยนาม. (2515). สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญของต่างประเทศกับระบอบการปกครองของไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการรักษาวินัยพรรคการเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน. สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2542). กฎหมายเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน. วิญญูชน.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. วารสารนิติศาสตร์, 36(1), 1-27.
หยุด แสงอุทัย. (2512). คำอธิบายพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511. โอเดียนสโตร์.
European Commission for Democracy through Law (Venice Commission). (2010, October 15-16). Guidelines on Political Party Regulation by OSCE/ODIHR and Venice Commission. In The Venice Commission at its 84th Plenary Session. [Symposium]. Venice.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต