หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะกับบริการสาธารณะ ประเภทคมนาคมขนส่งทางบกในปัจจุบัน
คำสำคัญ:
หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ, บริการสาธารณะ, การคมนาคมขนส่งทางบกบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าหลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะได้ถูกนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ตามหลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ บริการสาธารณะประเภทคมนาคมขนส่งทางบกต้องให้บริการในเวลาใดและสามารถหยุดให้บริการได้หรือไม่ และประชาชนสามารถมีสิทธิอย่างใดหากเกิดปัญหาในการใช้บริการสาธารณะประเภทคมนาคมขนส่งทางบก
จากการศึกษาพบว่า หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ไม่ได้ถูกนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่ยังเป็นหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงเพราะศาลปกครองได้นำหลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะไปใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี ดังนั้น หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะจึงอาจอาจถูกนำไปปรับใช้ในคดีปกครองอื่น ๆ ได้ นอกจากนั้น การที่หน่วยงานของรัฐหรือคู่สัญญาฝ่ายเอกชนไม่ปฏิบัติตามสัญญาทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะจนเป็นเหตุให้บริการสาธารณะนั้นสะดุดหยุดลง ย่อมถือว่าเป็นการการทำที่ขัดต่อหลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะแล้ว และเวลาในการให้บริการทั่วไปคือ 5.-00 – 22.00 น. โดยประมาณ และไม่ปรากฏว่ามีระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายใดกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาเดินรถโดยสารหรือรถไฟฟ้าแต่อย่างใด รวมถึงหากประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะประเภทคมนาคมขนส่งทางบกพบเจอปัญหามีสิทธิร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนั้นยังมีสิทธิการฟ้องคดี ไปยังศาลยุติธรรมได้ในกรณีที่ได้รับอันตรายแก่กายหรือชีวิต เท่านั้น ส่วนการฟ้องเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะต้องเป็นการฟ้องในกรณีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องละเลยหรือล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่จริง ๆ
ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ โดยควรกำหนดให้หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะเป็นหลักเกณฑ์ที่จะต้องยังคับให้รัฐปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ของประชาชน รวมถึงควรกำหนดระยะเวลาในการจัดทำบริการสาธารณเกี่ยวกับการขนส่งทางบกให้ชัดเจน และควรควรกำหนดให้ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายได้รับการเยียวยาก่อนฟ้องคดีตามสมควร
References
กรมขนส่งทางบก. (2567). การขนส่งทางบก (Land Transportation). https://prozkang10.wixsite.com/
chanon/about
เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย. (2559). การควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). วิญญูชน.
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. (2529). วิสาหกิจมหาชน (รัฐวิสาหกิจ) ในกฎหมายไทย: ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวิเคราะห์ข้อความคิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2547). หลักกฎหมายปกครองฝรั่งเศส. สำนักงานศาลปกครอง.
เดลินิวส์ออนไลน์. (2567). มนพร” สั่ง ขสมก. ระดมรถเมล์ทุกอู่ วิ่งแทนรถเมล์เอ็นจีวี 487 คันหยุดวิ่ง. https://
www.dailynews.co.th/news/3037422/
ไทยรัฐออนไลน์. (2567ก). รถไฟฟ้าสายสีเหลืองขัดข้อง จอดคารางกว่า 2 ชั่วโมง (คลิป). https://www.thairath.
co.th/news/local/bangkok/2774135
ไทยรัฐออนไลน์. (2567ข). BTS ชี้แจงเหตุขบวนรถหยุด จากอาณัติสัญญาณขัดข้อง. https://www.thairath.co.th/
news/local/bangkok/2695434
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิญญูชน.
บุบผา อัครพิมาน. (2548). หลักกฎหมายทั่วไป. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 5(1), 22-24.
ประยูร กาญจนดุล. (2538). คำบรรยายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2563). กฎหมายปกครอง. วิญญูชน.
ภูมิพัทร์ กีรติวิทโยฬส. (2562). การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ด้านการคมนาคมขนส่งกรณีศึกษา: เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2543). ความเป็นไปได้และแนวทางในการตรากฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชน. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
PPTV Online. (2567). ขสมก. ยกเลิกวิ่งรถเมล์สาย 34 และ 39 พร้อมกับอีก 4 เส้นทาง. https://www.pptvhd36.
com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0 %B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/220927
Thai PBS. (2567). เร่งซ่อมรางรถไฟขบวนสินค้า อ.สะเดา หลังถูกลอบวางระเบิด. https://www.thaipbs.or.th
/news/content/322241
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต