ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเลือกตั้ง ศึกษาเฉพาะกรณีคดีเกี่ยวกับคุณสมบัติ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คำสำคัญ:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คดีเลือกตั้ง, ศาลยุติธรรม, ศาลรัฐธรรมนูญ, คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเลือกตั้ง ศึกษาเฉพาะกรณีคดีเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในแนวทางแก้ไขปัญหาถึงกรณีดังกล่าวให้การดำเนินงานในการตรวจสอบคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม
ผลการศึกษาพบว่าในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีดังกล่าว มีทั้งในส่วนของศาลยุติธรรมหรือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี โดยขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลผู้เป็นคู่ความแห่งคดี ว่ามีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ หากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ แต่หากเป็นกรณีอื่นจะอยู่ในส่วนของศาลยุติธรรม จนส่งผลที่ทำให้ แนวทางปฏิบัติตนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับบุคคลที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในส่วนของแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาถึงสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้เกิดความยุติธรรมอย่างสูงสุดแก่ประชาชนได้
ข้อเสนอแนะของงานวิจัยฉบับนี้จึงได้นำเสนอให้เห็นควรแก้ไขให้มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาโดยเฉพาะเป็นศาลเลือกตั้ง โดยให้อยู่ภายใต้ศาลฎีกาซึ่งถือเป็นศาลสูงที่มีความเหมาะสมในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดจนคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานภาพของบุคคลดังกล่าวว่าได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
References
กนกรักษ์ น้อยสัมฤทธิ์. (2556). ปัญหาการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง : ศึกษากรณีการสั่งให้มีการ
เลือกตั้งใหม่หรือการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
กิตติพัฒน์ สุวรรณนัจศิริ. (2555). การตรวจสอบการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วย
การเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการ [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ลำไผ่ ภิรมย์กิจ. (2561). การจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำ
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต].
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2567). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 7).
วิญญูชน.
พหลวัฑฒิ์ อินทรบุญสม. (2564). มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีเลือกตั้งของประเทศไทย
[วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2542). การเลือกตั้งในรัฐเสรีประชาธิปไตย. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 1(3), 95-105.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2567). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). อ่านกฎหมาย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต