กรณีศึกษาการค้าการลงทุนในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ผ่านทางจุดผ่านแดน ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • Phakawat Chanyasuthiwong

คำสำคัญ:

การค้าการลงทุน, กัมพูชา, ช่องสะงำ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการค้าการลงทุนผ่านจุดแดนถาวรช่องสะงำไปยังจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา เพื่อศึกษาการส่งเสริมการค้าการลงทุนผ่านจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำไปยังจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐจากประเทศไทยและประเทศกัมพูชา พ่อค้า โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐ พ่อค้า ที่ทำการค้าการลงทุนผ่านจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ ไปยังจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการค้า การลงทุน ประเทศไทยได้ดุลการค้า 17.73 ล้าน จากประเทศกัมพูชา แต่เส้นทางถนนที่ออกจากประเทศไทย เข้าไปในประเทศกัมพูชาก่อนจะเข้าไปยัง อำเภออัลลองเวง เป็นเส้นทางลงเขา เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จึงยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าจากจุดผ่านแดนช่องสะงำไปยังจังหวัดอุดรมีชัยได้ ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาให้ความสำคัญในการการส่งเสริมให้เกิดการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษได้ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดี มีการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดศรีสะเกษกับอุดรมีชัยมีพื้นที่ติดกัน ประชาชนสัญจรไปมาได้สะดวกทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน การค้าขาย การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน จังหวัดศรีสะเกษมีผลผลิตทางการเกษตรที่ดี ศักยภาพในการปลูกพืชเศรษฐกิจจึงอยากให้เข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร

ดังนั้น จึงขอเสนอแนะโดย จัดงานแสดงสินค้าของทั้งประเทศอย่างบ่อยครั้ง จัดเวทีให้นักธุรกิจได้มีการพบปะสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน รัฐบาลไทยอาจต้องเข้าไปช่วยปรับปรุงเส้นทางจากช่องสะงำไปยังจังหวัดอุดรมีชัย รัฐบาลไทยควรเข้าไปช่วยนักธุรกิจไทยในการเป็นพี่เลี้ยงในการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศกัมพูชา รัฐบาลไทยควรช่วยนักธุรกิจไทยที่ประสบปัญหาในการทำธุรกิจที่ประเทศกัมพูชาอย่างเต็มที่

References

เขียว สัมพันธ์. (2549). ประวัติศาสตร์กัมพูชากับจุดยืนที่ผ่านมาของข้าพเจ้า (อภิญญา ตะวันออก,

ผู้แปล). มติชน.

เขียน ธีระวิทย์ และ สุณัย ผาสุก. (2543) กัมพูชา ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงการเมือง

และการต่างประเทศ. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุมพิตา เรืองวิชาธร. (2563). การบูรณาการกฎหมายซื้อขายของอาเซียน: ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมาย

ซื้อขายของประเทศไทยและ CISG. วารสารนิติศาสตร์, 49(1),131-147.

บัณฑิต เพิ่มบุญ. จิตรกร โพธิ์งาม. และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2562) รูปแบบการส่งเสริมการค้าชายแดน

ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาบริเวณช่องสะงำจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(2), น. 27-43.

ปรียานันท์ รักษกุลวิทยา. (2558). ปัญหาการบังคับใช้ INCOTERMSในศาลไทย: ศึกษาเฉพาะกรณี

การโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ. สุทธิปริทัศน์,

(91),148-164.

วัชรินทร์ ยงศิริ. (2547). การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา : ปัญหาที่ประสบในปัจจุบันและแนวทางแก้ไข

ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ ยงศิริ. (2548). กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์การพิมพ์.

สุนิสา ปัญญาสุรจิต. (2549). การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน [สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร

มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุปราณี นาคแก้ว. (2550). ธุรกิจระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

Chanyasuthiwong, P. (2024). กรณีศึกษาการค้าการลงทุนในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ผ่านทางจุดผ่านแดน ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1(2), 79–106. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/sisaketlawjournal/article/view/739