การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองภายในฝ่ายปกครอง : ศึกษาเปรียบเทียบ หลักการ ผู้มีอำนาจพิจารณาและระยะเวลาการอุทธรณ์ระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ
คำสำคัญ:
คำสั่งทางปกครอง, การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง, กฎหมายปกครอง, เปรียบเทียบ, พระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด วิธีการ และผลทางกฎหมายของการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองภายในฝ่ายปกครองของประเทศไทยเพื่อเสนอแนะรูปแบบการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองภายในฝ่ายปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นแรก ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ระบบอุทธรณ์แบบบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยซึ่งการอุทธรณ์เป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องกระทำเพื่อให้คู่กรณีมีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการคุ้มครองเยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ประเด็นที่สอง ปัญหาความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองซึ่งกฎหมายไทยกำหนดให้หมายถึงผู้ที่ออกคำสั่งนั้นเองและการทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองที่กฎหมายไทยไม่ได้กำหนดให้เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อมีการอุทธรณ์เกิดขึ้น ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อคู่กรณีที่ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้น ประเด็นที่สาม ปัญหาระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่กฎหมายไทยกำหนดไว้เพียง 15 วันซึ่งอาจสั้นเกินกว่าที่คู่กรณีจะเตรียมตัวอุทธรณ์ได้ทัน
จากการศึกษาปัญหาข้างต้นทำให้ผู้เขียนได้พิจารณากฎหมายอันเกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองของประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสเปน เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบและปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนที่ยังปัญหาของประเทศไทย โดยเสนอให้จะมีการเปลี่ยนระบบอุทธรณ์เป็นแบบเผื่อเลือก กำหนดให้เจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กำหนดให้มีการทุเลาคำสั่งทางปกครองได้โดยเสนอพยานหลักฐานประกอบ และเพิ่มเติมระยะเวลาการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง เป็น 30 วัน
References
กมลชัย รัตนสกาวพงศ์. (2537). หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน พื้นฐานความรู้ทั่วไป. วิญญูชน.
กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2554). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 8). วิญญูชน.
กาญจนา ปัญญานนท์. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายอิตาลี.
วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
(3), 405-434.
เกรียงไกร โพธิ์แก้ว. (2554). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกับคำสั่งทั่วไป
ทางปกครอง (คำสั่งทางปกครองทั่วไป) [วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขากฎหมายมหาชน].
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2540). กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 1). จิรรัชการพิมพ์.
เตือนใจ เบ้าสอน. (2562) ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของประธานรัฐสภา ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2560). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2555). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2561). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิญญูชน.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2567). หลักพื้นฐานทางกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิญญูชน.
โรม ทีปะปาล (2560). การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองภายในฝ่ายปกครองของประเทศสเปน. วารสารวิชาการ
ศาลปกครอง. 17(1), 50-62.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครองภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 1). นิติราษฎร์.
สมยศ เชื้อไทย. (2557). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น ( พิมพ์ครั้งที่ 10). วิญญูชน.
สุธินัน อินอำไพ. (2565). เปรียบเทียบปัญหาการอุทธรณ์ภายในของฝ่ายปกครองไทยและญี่ปุ่น
[การศึกษาอิสระ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (ส่วนภูมิภาค)]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฤทัย หงส์สิริ. (2541). การทบทวนคำสั่งทางปกครอง. หนังสือรวมบทความวิชาการ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (พิมพ์ครั้งที่ 1). วิญญูชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI is อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต