การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นิธินันท์ เกตุยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) เพื่อยกระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research design) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 7 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์


              ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.01/82.84 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 4.63 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.48


คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์; เทคนิค STAD; การเสริมแรง

Article Details

How to Cite
เกตุยอด น. . (2025). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1136
บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่8). พีบาลาน์ดีไซน์แอนด์ปริ้นติ้ง.

ซวน ดิง ทิ่ แทง และสิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียนและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 7.

ฐานพัฒน์ ปักการะเน. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 9.

ดวงใจชนก พรรษา และอธิปัตย์ บุญเหมาะ. (2565). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนในชั้นเรียนปกติและการเรียนออนไลน์แบบกะทันหันในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารภาษาปริทัศน์, 37(3), 3-4.

เยาวรัช ทองเสริม. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ขำนวนเชิงซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(3), 17-18.

เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 2(1), 7-10.

วรัญญา นิลรัตน์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธนบุรี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

วีรวิชญ์ บุญส่ง. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning. วารสารการบริการนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 4-5.

สกลรัชต์ แก้วดี. (2560). แรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 243-260.

สุรีรัตน์ สุ่มมาตย์. (2560). การพัฒนาสื่อดิจิทัลตามแนวคิดของกาเย่ด้วยการสอนบน Padlet วิชาโปรแกรมตารางคำนวณสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 2(1), 3-4.

อภิชาต สะอาดถิ่น. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สำนวนไทยกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการเสริมแรงของสกินเนอร์. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ]. ThaiLis.https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse