การพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ผ่องพิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม, วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 3) ยืนยันระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน มีประชากร 520 คน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 237 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan การวิจัยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดองค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 4) พัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน และ 5) ยืนยันความเป็นไปได้ของระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การดำเนินการ 3) การสังเกตผล 4) การประเมินผล และ 5) การสะท้อนผล
3. การยืนยันความเป็นไปได้ของระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน มีความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2560). เทคโนโลยีทางการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2560). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2563). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2559). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สมพร ชูทอง. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐานวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(1), 10-20.

สีไพวัน พมมะสอน. (2565). กลยุทธ์การบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อเนก ส่งแสง. (2560). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

Franseth, J. (1961). Supervision as leadership. New York: Row Peterson.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Lunenburg, F. C. and Ornstein, A. C. (2000). Educational administration: Concepts and practice. 3rd ed. Australia: Wadsworth.

McTaggart, R. (1991). Principles for participatory action research. Adult Education Quarterly. 41(3): 168-187.

Sergiovanni, T. J. and Starratt, R. J. (1971). Supervisor: A redefinition. 5th ed. Singapore: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

ผ่องพิทยา อ. (2024). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 198–210. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/490