เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่ม ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • พัชรา เดชโฮม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชัยอนันต์ มั่นคง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พัชรนันท์ สว่างเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม, การสร้างสรรค์, นวัตกรรมการออกแบบสถานที่, คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) การบริหารจัดการองค์กร 2) การมีส่วนร่วม 3) การควบคุมความปลอดภัย และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ คือ ผู้บริหารและอาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยการเลือกกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารคณะครุศาสตร์ จำนวน 15 คน และคณาจารย์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการองค์กร และการควบคุมความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนเทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยทั้ง 4 ด้าน รวม 20 มาตรการ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการองค์กร 5 มาตรการ 2) การมีส่วนร่วม 5 มาตรการ 3) การควบคุมความปลอดภัย 5 มาตรการ และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 มาตรการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรรณิการ์ โพธิ์ลังกา. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคลวัฒนธรรมองค์กรลกษณะสร้างสรรค์ และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจอโศก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กษมา ทองขลิบ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของครูโรงเรียนราชินีบน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยนครพนม. (2558). คู่มือนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

กัญญ์ภัคญา ภัทรไชยอนนท์. (2557). วัฒนธรรมองค์กรกบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยอนันต์ มั่นคง และ ระติกรณ์ นิยมะจันทร์. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 485-502.

นัสรีณา ศรีสำราญ และ ชัยอนันต์ มั่นคง. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ สายสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรา เดชโฮม. (2567). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 50-62.

สมศักดิ์ จิตติเวชกุล. (2564). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: การศึกษาไทย.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

เดชโฮม พ., มั่นคง ช. ., & สว่างเจริญ พ. . (2025). เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่ม ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 51–61. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/822