แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • วนิดา พลอยล้วน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นิรันดร์ สุธีนิรันดร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กุลสิรินทร์ อภิรัตน์บวรเดช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา, , เชิงกลยุทธ์, การสร้างสรรค์, การบริหารองค์กร, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 ประเด็นต่อไปนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารแบบองค์รวม 2) สมรรถนะด้านดิจิทัล 3) การบริหารจัดการองค์กรแห่งความสุข และ 4) หลักเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรงานวิจัยนี้คือ ผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 50 คน คัดเลือกโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ กลุ่มสัมภาษณ์คือผู้บริหาร จำนวน 10 คน และคณาจารย์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามโดยมีค่าค่าเชื่อมั่น 0.87 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินผล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 4 ด้านในปัจจุบันอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการวิจัยด้านนี้ตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงต่ำสุด มีดังนี้ ระดับสูงสุดคือการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารแบบองค์รวม รองลงมาคือสมรรถนะด้านดิจิทัล การบริหารจัดการองค์กรแห่งความสุข และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทํางานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทั้ง 4 ด้าน รวม 30 มาตรการ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการองค์กร 5 มาตรการ 2) การมีส่วนร่วม 5 มาตรการ 3) การควบคุมความปลอดภัย 5 มาตรการ และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 มาตรการ ผลการประเมินเพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร บุคลากร และผู้เรียนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างสรรค์องค์กรแห่งคุณภาพและความเป็นเลิศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2556). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ภูวสิษฏ์ บุญศรี. (2562). การพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการ คิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของโรงเรียนบ้านโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2545). คุณภาพคือการบูรณาการ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2544). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สมศักดิ์ ดลประสิททธิ์. (2542). การประกันคุุณภาพการศึกษา : พลังและความหวัง. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สยุมภู เหมือนนิรุทธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับ การบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สามารถ ลมพัด. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน, 1(3), 16.

อนุสรณ์ ถึงสุขวงษ์. (2566). องค์กรคุณภาพ : เขาพัฒนากันอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www. gotoknow.org/posts/280067

อัครเดช นีละโยธิน. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารการศึกษา, 6(2), 126-135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

พลอยล้วน ว. . ., สุธีนิรันดร์ น., & อภิรัตน์บวรเดช ก. . (2025). แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 112–121. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/885