การจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านเกาะจังหวัดสมุทรสาครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 ราย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านระดับประสิทธิผลการจัดการขยะน้ำเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการขยะน้ำเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะจังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการขยะน้ำเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่แตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570). เข้าถึงได้จาก: https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2023/2/2354_6270.pdf
กีรติวรรณ กัลยาณมิตร. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัสุพรรณบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา,6(2), 80-92.
พัชราพร ภู่เอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนของประชาชน ในตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 2(2), 57-69.
สรินพร ไทรทอง. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของเสียอันตรายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ มูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 106-115.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ. (2566). ข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ. เข้าถึงได้จาก: http://bankao.go.th/public/
Bennis, W. and Nanus, B. L. (1971). The Strategies foe Taking Change. New York: Harper and Row.
Cohen, M. J. & Norman, T. U. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York : World Development.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 -334.
Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Orgionizations : Behavior structure and Processes. 4th ed. Austin, TX : Business Publications.
Likert, R. (1961). New Paatterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Steers, M. R., R. G. Ungson, and T. R. Mowday. (1985). Managing Effective Organization: An Introduction. Kent Publish Company.
Parsons, Talcott. (1964). Suggestion for a Sociological Approach to the Theory of Organizations in Complex Organizations: A Sociological. Reader by Amitai Etzioni. New York: Holt, Rinchart & Winston.