การจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปริญญา วิชชุตเวส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระดับประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยจำแนกตามพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนที่เป็นสุภาพสตรีในอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง 393 คน คำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ประสิทธิผลการจัดการข่าวสารข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามร้อยยอด โดยจำแนกตามพื้นที่ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยพบว่า ตำบลศาลาลัยมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงที่สุด และตำบลสามร้อยยอดมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมต่ำที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ทองยั่งยืน. (2562). การมีส่วนร่วมของสตรีในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กาญจนา บุญยัง. (2547). ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : กรณีศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กุลประภัสสร์ รำพึงจิตต์ และภัทรภร จ่ายเพ็ง. (2563). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จิระพันธ์ วินทะไชย. (2560). ความคิดเห็นของคณะกรรมการที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.

จีรภา มิ่งเชื้อ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติในอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก: มหาวิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปยุตา จันทร์เส็ง. (2557). การประเมินโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในเขตตำบลบ่อ อำเภอขลุงจังหวัดจันทบุรี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วราวุฒิ องค์การ และ ชาญชัย จิวจินดา. (2565). ผลสำเร็จของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษาอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.ปทุมธานี.

วลัยลักษณ์ มูลมิรัตน์. (2561). ประสิทธิผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในพื้นที่อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, ประจวบคีรีขันธ์.

วันเพ็ญ กองคำ. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับประสิทธิผลในการส่งเสริมการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติในจังหวัดอุดรธานี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

วิชญ์พล พีระพันธุ์. (2563). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสำนักงานจังหวัดลพบุรี.หลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ศราวุธ สังข์วรรณะ. (2556). รายงานวิจัย เรื่อง สภาพและปัญหาการดำเนินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พระนครศรีอยุธยา.

สมสกุล หอมหวน. (2559). การประเมินโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในเขตตำบลศรีมงคลอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยภาคกลาง,นครสวรรค์.

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.