การป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน ตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการป้องกันและปราบปราม การแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทรายอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร และ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กับปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปราม การแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับ การป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบการป้องกันและปราบปราม การแพร่ระบาดของ ยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามลักษณะประชากร พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนตำบลห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กับปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน พบว่า เป็นเชิงบวกระดับปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกตุนภา ผิวผุด และสาโรช เผือกบัวขาว. (2563). กลยุทธ์การป้องกันปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี, 10(1), 22-30.
ณัฐพร นิ่มนวล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
ระพีพันธ์ โพนทอง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระนครศรีอยุธยา.
สุจินต์สะพัด ศิริบูรณ์ และปิยากร หวังมหาพร. (2565). ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 24-40.
Caplow, T. (1964). Principles of Organization. New York: Harcourt, Brace and World.
Jessor, R., & lessor, S. L. (1977). Problem behavior and psychosocial development: A longitudinal study of youth. New York: Academic Press.
Norman, E., & Turner, S. (1993). Adolescent substance abuse prevention program: Theories, models, and research in the encouraging 80's. The Journal of Primary Prevention, 14(1), 3–20.
Van Meter, Donald S. & Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.
Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.