การบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ ในเขตการนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ณสัณห์หฤษฎ์ ปชาโชคภูริสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ (2) เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ     กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 168 คน ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ และผู้ประกอบการในเขตการนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์ เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบการบูรณาการร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ตำแหน่งงาน รายได้ และประสบการณ์ แตกต่างกัน มีการบูรณาการความร่วมมือแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา นกน้อย. (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์การ: แนวคิดและประสบการณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(3), 157-159.

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนสนวสุ. (2550). สภาพแวดล้อมทางการบริหาร. ขอนแก่น: ม.ป.พ.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2563). ที่มาที่ไปของ CSR. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จากhttps://www.tpa.or.th/tpanews/index.php?id=36

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎีบูรณาการ

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2514). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี พี ไซเบอร์พรินท์.

สุปรีชา หิรัญบูรณะ. (2561). สรุปย่อวิชาพื้นฐานทางรัฐศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. จาก https://www.geocities.ws/drsupreecha/page8.html.

สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร. (2564). การจัดการเรื่องร้องเรียน. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565, จาก https://samutsakhon.industry.go.th/th/cms-of-20895.

Herbert A. Simon. (1960). Administrative Behavior. New York: The free Press.

Herzberg, F., Bernard, M., and Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Maslow, A. M. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Millert, J. D. (1954). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill.

Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill: Irwin.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.