ความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านไทรใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วีรวรรณ นกรอด

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านไทรใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนบ้านไทรใหญ่หมู่ 5 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 156 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า ประชากรมีความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ และอาชีพหลัก ที่แตกต่างกันจะมีระดับความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนหมู่บ้าน [กทบ.]. (2558). รายงานข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านไทรใหญ่. (อัดสำเนา)

วัลลภ รัฐฉตรานนท์. (2546). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงอุมา โสภา. (2551). ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักทะเบียน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ทรงชัย ติยานนท์. (2542). การศึกษาทัศนะของเกษตรกรในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เธียรธิดา เหมพิพัฒน์. (2546). ความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นพพร ไพบูลย์. (2546). ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทเอสวีไอ จากัด (มหาชน) ที่มีต่อการยอมรับมาตรฐานการจัดสิ่งแวดล้อม ISO 14000. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ.

สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2554). คู่มือจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis of the behavioral scienes. New York: Lawrence Erlbaum Associattes.

Freeman, L. (1995). Ogranization Behavioral. 7th ed. Singapore: McGraw-Hill.

Good, M.L. (2006). Integrating the Individual and the Organization. New York: Wiley.

Michael, C.J. and William H.M. (2001). Specific and General Knowledge, and Organizational Structure: Knowledge Management and Organizational Design. Delhi: Replica Press.

Likert, R. (1967). Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.