กระบวนการพัฒนาศักยภาพคนเร่ร่อน เพื่อกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนในนิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ศราวุฒิ ศรีเพียงจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาศักยภาพคนเร่ร่อน เพื่อกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนในนิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี ในปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการพัฒนาศักยภาพคนเร่ร่อน เพื่อกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนในนิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี ในปัจจุบัน และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพคนเร่ร่อน เพื่อกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนในนิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี ในปัจจุบัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว (1) พบว่า การพัฒนาศักยภาพด้วยวิธีการพัฒนา 4 ด้าน เป็นการต่อยอดและพัฒนากระบวนการในการปฏิบัติงานจริง มีการวางแผนพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติเน้นการทำงานแบบบูรณาการ มีทุนทางพื้นที่ในการให้บริการตามหลักธรรมชาติบำบัด (2)พบว่า คนเร่ร่อนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านจิตเวช มีข้อจำกัดในการรับการพัฒนาคนเร่ร่อนต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และ (3) พบว่า มีการดำเนินงานตามแผนงานและเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมของคนเร่ร่อนในการกำหนดกิจกรรมตามกรอบการพัฒนาศักยภาพทั้ง 4 ด้าน และเป็นการสร้างแรงจูงใจ ในการกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวและชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการเข้ามาบูรณาการช่วยเหลือ โดยมีการติดตามประเมินผลการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนด้วยเครือข่ายในพื้นที่ เป็นระยะตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันการกลับไปเร่ร่อนซ้ำอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี ศรีสันต์. (2541). “ประสิทธิผลของมาตรการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนเร่ร่อนจากชนบท: ศึกษากรณีกลุ่มคนเร่ร่อนจากชนบทที่ผ่านมาตรการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนเร่ร่อนทั้งในและนอกสถานสงเคราะห์”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

กิตติยา รัตนากร. (2531). คนพิการ: สงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2563). รายงานจำนวนผู้ใช้บริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 2563. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

ประภัสสร วัฒนา. (2560). แนวความคิดมนุษยนิยมของ มาสโลว์ (Maslow) และแนวความคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) ที่ปรากฎผ่านนวนิยายเรื่อง “วันหนึ่งในชีวิตของอีวาน เดนิโซวิช”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพิมล พลเวียง. (2545). สวัสดิการครอบครัวและสังคม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วสันต์ ณ ถลาง. (2549). สาเหตุของการกลับมาเป็นคนเร่ร่อน ขอทานในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

สาลินี วงศ์ทอง. (2543). “แนวทางการใช้อาชีวบำบัด (กิจกรรมบำบัด) ในกระบวนการพัฒนาศักยภาพบุคคลไร้ที่พึ่งในหน่วยงานด้านการสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งกรมประชาสงเคราะห์”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาดา สาครเสถียร. (2530). การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5. (2560). การถอดบทเรียนการปฏิบัติงานกลุ่มเป้าหมายคน ไร้ที่พึ่ง และขอทาน (โครงการบ้านน้อยในนิคมฯ). สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดเชียงใหม่. (2560). แนวทางการเตรียมความพร้อม ของครอบครัวและชุมชนในการรับคนไร้ที่พึ่งกลับสู่ชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.

UNHCR ประเทศไทย. (2563). ข้อมูลประชากรพลัดถิ่น. สืบค้นจาก https://www.unhcr.org/th/unhcr-in-Thailand.