ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้ที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix method research) โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากตัวแทนประชาชนในพื้นที่อำเภอทุ่งเขาหลวง จำนวน 51 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน ประกอบด้วย คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนการคลังและเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความถูกต้องครบถ้วนในการจัดเก็บรายได้ ด้นความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรายได้และด้านมาตรการตรวจสอบตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ คือ ผู้บริหารควรมีนโยบายในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ เพื่อลดขั้นตอน วิธีการมีการนำระบบสารสนเทศแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาประยุกต์ใช้ในระบบการจัดเก็บรายได้ภายใต้มาตรฐานการบริการที่เท่าเทียมกัน และสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเสียภาษีอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย หลักการ และมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จุติมา รามัญศรี. (2545). การวิเคราะห์ความพยายามในการจัดเก็บภาษีของกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
เจษฎา ชะอุ่มพันธ์. (2548). การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2550). การวิจัยนโยบายสาธารณะ : ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
เนาวรัตน์ ธรรมวรางกูร. (2551). ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลศาลาลำควน อำเกอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2550). การคลังรัฐบาลและการคลังท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รสุคนธ์ ฟองมูล. (2551). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลาพูน. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วลาสินี เมฆนิติกุล. (2551). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วัชระ หอมจันทร์กลุ่ม. (2551). การศึกษาสาเหตุอุปสรรคและแนวทางการจัดเก็บรายได้ให้เกิด ประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลคชสิทธิ์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ศรินรัตน์ วิรุณพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2551). การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.