ทุนทางสังคมกับการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ทุนทางสังคม ในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านบะตะกาหมู่ 6 ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมต่อการนำมาใช้ในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านบะตะกา หมู่ 6 ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลหนองใหญ่ มีความเชื่อมั่น ในการบริหารงานและคุณธรรมการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ คณะกรรมการใช้หลักคุณธรรม มีการจัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ มีระบบสวัสดิการชุมชนจะต้องประกอบด้วยการบูรณาการสวัสดิการอย่างหลากหลายเข้าด้วยกัน ทั้งเรื่องกองทุน ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชนซึ่งเอื้ออาทรต่อกัน มีความสามัคคี มีความร่วมมือในชุมชน ซึ่งการทำหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนที่ช่วยในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง 2) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมต่อการนำมาใช้ในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สิ่งที่สำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จคือผู้นำกลุ่ม คณะกรรมการ และสมาชิก เป็นบุคลากรที่มีความรู้ภูมิปัญญา มีความรอบรู้ มีความรอบคอบ และมีความชื่อสัตย์สุจริต และที่สำคัญยิ่งคือความรักสามัคคี คณะกรรมการบริหารกลุ่มจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ใช้มติที่ประชุมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการปัญหาและอุปสรรคทุนทางสังคมต่อการนำมาใช้ในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยใช้แนวทางการสนับสนุนการจัดทำบัญชีเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน และเข้าใจง่าย ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ มาร่วมในการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อให้คนในชุมชนได้การเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ นำไปสู่การดำเนินงานที่ต่อเนื่องกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
Article Details
References
กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2541). เศรษฐกิจชุมซนพึ่งตนเอง แนวความคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
กฤษ อุตตมะเวทิน. (2550). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปฏิบัติตาม พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
กัลป์ยานี ปฏิมาพรเทพ. (2543). ครูภูมิปัญญาไทยนักเศรษฐศาสตร์ชุมชน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2540). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการพัฒนาของสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. (พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รัตนาภรณ์ ศรีพยัคฆ์. (2553). เทคนิคการประสานงาน เอกสารความรู้ สดร.ลำดับที่ 18/ปีงบประมาณ 2553. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.