วิถีชีวิตกับการปรับตัวของนักศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

Main Article Content

ทิพวัลย์ คำมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการเรียนของนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปรับตัวของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2) อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ 3) บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด รวม 20 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการเรียนของนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พบว่า มีรูปแบบการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเรียนการสอนอย่างมากพอสมควรทั้งนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน เพราะจากโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนไปอย่างมาก นักศึกษา อาจารย์ต้องปรับตัวในการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นการเรียนแบบออนไลน์ 100% 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปรับตัวของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านทักษะ และความพร้อมของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ผ่าน Google Meet โดยการสร้างห้องคุยกันและทำงานร่วมกันแต่ในการเรียนแบบออนไลน์มีนักศึกษาบางกลุ่มที่ไม่ชอบเปิดกล้องเปิดไมค์ในขณะที่เรียนออนไลน์และทักษะมีผลต่อการเรียนการสอน อาจารย์ทุกคนมีทักษะและมีความแตกต่างกันบางอาจารย์ก็จะเข้มงวดหน่อยในการสอนเพื่อที่นักศึกษาจะได้สนใจในเนื้อหาที่สอน บางอาจารย์ก็จะไม่เข้มงวดกับนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ แสนสุภา, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, และ ผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 79-92.

นันทนพ เข็มเพชร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(2), 221-239.

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 200-213.

สอยฤทัย เกลี้ยงนิล. (2563). รัฐ-ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติโรคไวรัสโควิด 19 พื้นที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สำนักระบาดวิทยา กรมการควบคุมโรค. (2555). การจัดการโรคระบาด. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมการควบคุมโรค.

อวาทิพย์ แว. (2563). การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.