แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในด้านบริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) 2) เพื่อศึกษาปัญหาการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในด้านบริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งหมด 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในด้านบริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) พบว่า (1) มีการจัดการด้านระบบการแจ้งเหตุในการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน โดยให้โทรแจ้งเหตุเข้าไปที่ศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 (2) มีการใช้วิทยุสื่อสารในการติดต่อประสานงานและรับแจ้งเหตุจากโรงพยาบาลพลและศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ในการติดต่อสื่อสารและในการประชาสัมพันธ์ (3) บุคลากรกู้ชีพมีการส่งเข้าอบรมเป็นประจำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วย 2) ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการให้ข้อมูลผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บแก่เจ้าหน้าที่ไม่ถูกต้อง และมีปัญหาในการติดต่อสื่อสารจะเป็นเรื่องสัญญาการสื่อสารไม่ค่อยดีปัญหาในด้านการประชาสัมพันธ์ยังน้อยอยู่และยังไม่ทั่วถึง 3) แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถกู้ชีพการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) พบว่า เจ้าหน้าที่จะต้องออกไปแนะนำให้ประชาชนโทรแจ้งเหตุเข้าไปที่ศูนย์สั่งการ 1669 และจะต้องมีการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการแจ้งเหตุให้ถูกต้อง
Article Details
References
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. (2564). พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2522 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 67 หน้า 55. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/29699.
ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, วิทยา ชาติบัญชาชัย, อนุชา เศรษฐเสถียร, จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์, นธีรัตน์ ธรรม์โรจน์, พัฒนาวิไล อินใหม และประไพร อุตมา. (2552). การวิจัยเพื่อการประเมินและพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ราชกิจจานุเบกษา. (2564). พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/044/1.PDF
วรพล สารสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน.
สมชาย กาญจนสุต. (2560). คู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อัลทิเมทพริ้นติ้ง.
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า. (2564). รายงานการดำเนินงานตามแผนดำเนินการ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า. สืบค้นจาก https://khoksanga.go.th/index.php?show=announced&category=1&page=7.