แนวทางการสอนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น โดยใช้สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของสถานศึกษาในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระนิพิฐพนธ์ ถือฉลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการสอนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้นโดยใช้สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสอนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้นโดยใช้สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของสถานศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งหมด 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการสอนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้นโดยใช้สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูปการสอนควรมุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียนในชีวิตประจำวัน โดยมีการคำนึงถึงหลักการและเหตุผลที่ทำให้เนื้อหานั้นมีความสำคัญ ควรสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ 2) ผลการเสนอแนวทางการสอนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้นโดยใช้สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของสถานศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ (1) การสร้างบทเรียนที่มีความน่าสนใจเริ่มต้นด้วยการสร้างบทเรียนที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียนในปัจจุบัน (2) ในบทเรียนสำเร็จรูปควรแทรกการใช้กิจกรรมและโครงการสำหรับนักเรียนสร้างกิจกรรมและโครงการที่ให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติการต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคุณ รุ่งเรือง, ดรุณี จำปาทอง, กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล และสิริวรรณ ศรีพหล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ไทยในหลักสูตรนานาชาติ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(2), 71-86.

จุฑามาศ อนุกูลวรรธกะ ชรินทร์ มั่งคั่ง และแสวง แสนบุตร. (2564). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 23-40.

ปิยะดา แพรดำ. (2564). วิธีการสอนประวัติศาสตร์และอาเซียนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของห้องสมุดโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 1(3), 149-158.

ยุทธศิลป์ แปลนนาค และชัยรัตน์ โตศิลา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อทักษะ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1930-1943.

วรลักษณ์ วิทูวินิต และจรัญ แสนราช. (2560). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียเสมือนจริงเรื่องประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอยุธยา : กรณีศึกษาวัดพระราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 96-108.

ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic f เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).