ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชัยยันต์ คุณรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี จำนวน 394 คน และกลุ่มให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านคุณภาพชีวิตร่างกาย ด้านคุณภาพชีวิตความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตจิตใจ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านความผูกพันต่อองค์กร (X3) ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคลX5 และด้านการบูรณาการทางสังคม (X4) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .422 .401 และ -.703 ตามลำดับ และ 3) ควรมีการรับรู้ความพึงพอใจสภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ ในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลต่อชีวิตประจําวัน โดยมีการรับรู้ความรู้สึกทางบวกที่บุคคลมีต่อบุคลากรการรับรู้ภาพลักษณ์ต่อการรับรู้ถึงความรู้สึกภาคภูมิใจของบุคลากรในการรับรู้เรื่องความสัมพันธ์ของบุคลากรกับบุคคลอื่นและมีความั่นคงในชีวิตในการทำงานของบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณัฐพล อุตส่าห์สุ. (2566). คุณภาพชีวิตในการทํางานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตําบลในคลองบางปลากด อําเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์} 7(1), 112-129.

ณัฐริกา แป้นถึง. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาป่า อำเภเมือง จังหวัดชลบุรี (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

นฤมล ไทรตระกูล. (2564). ปัจจยัที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกําหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 636-646.

ประพัทธ์พงศ์ ผลแก้ว. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

พระสิทธิชัย วิสุทฺโธ (หว่านผล). (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเทศบาลในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2555). กฎหมายสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีศักดิ์ สุวรรณธรรมมา. (2562). แนวทางการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2567). วาระปฏิรูปพิเศษ 9: ปฏิรูปองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์.

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2567). นโยบายสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: กองยุทยุธศาสตร์และแผนงาน สำนักนงานปลัดกระทรวงแรงงาน.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2567). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities-CRPD). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติคนพิการแห่งชาติ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.