กระบวนการนิเทศติดตามนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

Main Article Content

เอกรัตน์ มาพะดุง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการติดตามที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาทักษะการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแผนการติดตามที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาโดยวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 ท่าน ที่ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า 1) แผนการติดตามที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูพบว่า ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนที่ต้องการให้นิสิตบรรลุในการพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนมีการวางแผนการพัฒนาจัดทำแผนการที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนละเป็นระบบการมีประเมินผลและปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2) การติดตามและประเมินผลการพัฒนาทักษะการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า ผลการพัฒนาทักษะการสอนของนิสิตในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอาจแตกต่างกันไปตามบทบาทของนิสิตในสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมการสอนที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาทักษะการสอนอย่างต่อเนื่อง และนิสิตมักจะมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้และปรับปรุงทักษะต่างๆ ของตนเองตามคำแนะนำและการสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยงรวมถึงบุคลากรทางการศึกษา 3) แนวทางการพัฒนาแผนการติดตามที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า การพัฒนาทักษะและความสามารถในการสอนไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการสอนแบบเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้นิสิตมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาเองอีกด้วย ดังนั้น การตั้งเป้าหมายที่มีความเหมาะสมและการสร้างแผนการติดตามที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูพัฒนาไปในทิศทางที่เป้าหมายไว้ได้สำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นนทรี พรมมี. (2564). ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบดูแลให้คำปรึกษา (Mentoring) เพื่อพัฒนาความ สามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสาธิตประสานมิตรวิจัย ครั้งที่ 1 “วิจัยและนวัตกรรมการศึกษาภายใต้ความปกติวิถีใหม่” วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (น. 45-56). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม).

ปัณณทัต บนขุนทด, สำเร็จ ยุระชัย, ไพโรจน์ พรหมมีเนตร และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2561). การพัฒนาแนวทางการบริหารการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 179-193.

ปุณทิศา กลัดทอง และวรรณี แกมเกตุ. (2565).การออกแบบโปรไฟล์แบบเครือข่ายสำหรับการนิเทศเพื่อส่งเสริมทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(106), 112-123.

เมธาวี ศรีสิงห์ และศราวุธ อินทรเทศ. (2562).ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. Journal of Industrial Education, 18(3), 215-223.

ลิขสิทธิ์ สิงห์งอย และนุชจนาถ สิงห์งอย. (2561). การประเมินโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์ นครพนมสาขาวิชาสังคมศึกษาปีการศึกษา 2561. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(1), 1-10.

ศักดิ์ดา หารเทศ, อนุชิต ปราบพาล และทิพย์วรรณ จันทรา. (2566). แนวทางการพัฒนานิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ผ่านระบบการนิเทศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยวิทยาเขตนครศรีธรรมราช. Journal of MCU Nakhondhat, 10(5), 311-324.

สุนันทา กินรีวงค์, สุรกานต์ จังหาร และประสพสุข ฤทธิเดช. (2567).การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(1), 210-221.