กลยุทธ์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาปัจจัยกลยุทธ์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนากลยุทย์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเลย จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่ม เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน ด้านการนำไปปฏิบัติและการประเมินผล ด้านภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และ 3) ควรมีการสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมที่พักให้นักท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุ แผ่นพับ โฆษณา อย่างครบวงจร ทั้งมีแก้ไขปัญหาโดยร่วมมือกับชุมชนและให้หน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมในการท่องเที่ยวพร้อมทั้งให้หน่วยงานท้องถิ่นส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผ่านภาคีเครือข่าย จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประสานงานอย่างจริงจัง โดยการให้ความเอาใจใส่และความต้องการของนักท่องเที่ยวในการบริการประสานงานด้านต่างๆ ให้คำแนะนำจากหน่วยภาครัฐอย่างจริงจัง
Article Details
References
กชธมน วงศ์คำ ชาตรี, ไกรพีรพรรณ และเวธกา มณีเนตร. (2561). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนบ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: พีดับ บลิว ปริ้นติ้ง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพค์รั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. (พิมพค์รั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ชาติชาย อ้วนเสมอ และธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2566). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 3(2), 110–120.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 25-46.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2566). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับการพัฒนาประเทศ. วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม, 1(5), 29-38.
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, อาทิตย์ แสงเฉวก และกนกอร บุญมี. (2565). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 49–66.
ปิยะณัฐ คล้ายเดือน. (2559). แนวทางการใช้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน ตําบลบ่อสวก อําเภอเมือง จังหวัดน่าน. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
ศรัญญู จันทร์วงศ์ และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2564). ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ วิชาการวิจัย และงานสร้างสรรค์, 9(2), 94–110.
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และกันตภณ แก้วสง่า. (2558). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Richards, G. (2010a). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism a Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe (pp. 78–90). New Mexico, USA: Santa Fe & UNESCO.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd Ed.). New York: Harper & Row.