กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ภูกาญจนกฤษฎิ์ ปุลันรัมย์
ยุทธพล ทวะชาลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน และกุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบการอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า: 1) กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ ด้านการเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการ และด้านการเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร (X2) ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ (X4) ด้านการกำหนดทิศทาง (X1) ด้านกระบวนการทางความคิด (X6) และด้านการบริหารจัดการ (X9) ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .240 .203 .193 .177 และ .172 ตามลำดับ และ 3) ควรจำเป็นต้องมีแนวทางพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมให้ชัดเจน และมีการพัฒนาระบบการบริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการนำนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดทั้งแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นมีความทันสมัยอยู่เสมอๆ และพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายให้มีความทันสมัยและก้าวหน้าทางนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

เกียรติยศ ระวะนาวิก และศุภชัย ยาวะประภาษ. (2565). การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(3), 123-136.

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตวัขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 74-88.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐชยุติ เอี่ยมอำภา. (2563). นวัตกรรมบริการของภาครัฐในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

พิภพ วชังเงิน. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: รวมสาสน์.

เรียวฤดี รันศร. (2565). อิทธิพลของปัจจัยทางการบริหารภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วิชาญ อิทธิฤกษ์มงคล. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่รอบหนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2558). 15 ปี การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. (2566). ข้อมูลจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นจาก http://udonthanilocal.go.th/view_detail.php?boxID=3511&id=232531.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2562). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภาคกลาง. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 41-51.

อนุจิตร ชิณสาร. (2563). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 83-93.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.