การบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ (ร้านกาแฟ) ในเขตจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการร้านกาแฟ และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการร้านกาแฟ ในเขตจังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดอุดรานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการร้านกาแฟ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านงบประมาณ ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการร้านกาแฟ พบว่า (1) ควรมีการสร้างความพึงพอใจต่อการช่วยเหลือของภาครัฐในการแสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้านที่สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านหลากหลายช่องทางต่างๆ (2) ผู้ประกอบการควรเข้าร่วมเวทีเสวนาของรัฐและลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กาแฟ (3) สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการร้านกาแฟด้วยกัน ในการสร้างพันธมิตรกับภาคีเครือข่ายในการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องของธุรกิจในกำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยที่เกี่ยวข้องที่มีประสิทธิผล
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
กานดา เสือจําศิล. (2555). พฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านกาแฟสดสตาบัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/.
กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. Academic Journal of Community Public Health, 7(1), 16–34.
ชิตธารินทร์ ลิ้มเพิ่มวุฒิพร. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการบริโภคกาแฟประเภทแคปซูลของพนักงานออฟฟิศ Generation Y ที่ Work from home ช่วงโควิดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
บุญสม รัศมีโชติ. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจร้านกาแฟอินดี้ในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 2(15), 137-149.
วันวิสา ไกรแก้ว. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการเพิ่มการบริโภคกาแฟสดและการเปลี่ยนการบริโภคจากชาหรือกาแฟสำเร็จรูปมาเป็นกาแฟสด. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2553). กาแฟกระป๋องพร้อมดื่มปี ‘53. สืบค้นจาก http://www.kasikornresearch.com/TH/KEcon%20Analysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=25363.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.