การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน: กรณีศึกษาการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยวของชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระมหาสมบัติ ฐานวโร
เอกรัตน์ มาพะดุง
พระวีรศักดิ์ จนฺทวํโส
พระครูสาธุกิจโกศล
พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของชุมชนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน และ 2) กระบวนการของชุมชนที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เกษตรตำบล ผู้นำชุมชน และประชาชนผู้ปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนแต่เพื่อให้การดำเนินการนี้ประสบความสำเร็จ ชุมชนต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในหลายด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านทุนการสนับสนุน ด้านท่อนพันธ์และปุ๋ยรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชหมุนเวียน เทคนิคการดูแลพืช การใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างเหมาะสม 2) กระบวนการของชุมชนที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว พบว่า การรวมกลุ่มจะทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ ลดภาระงานของแต่ละคน และเพิ่มโอกาสในการจ้างงานในชุมชน การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังต้องใช้แรงงานมาก การรวมกลุ่มช่วยให้มีคนทำงานพร้อมกันในปริมาณมาก ทำให้การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นได้เร็วขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความสร้างความสามัคคีและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน การทำงานร่วมกันจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและการพึ่งพากันในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชโนภาส ชนลักษ์ดาว, วฤชา ประจงศักดิ์, รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง และธัชชา รัมมะศักดิ์. (2567). สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ. ศ. 2566. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(6), 1068-1086.

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ, ณัฏฐานุช เมฆรา และสุทธิดา จันทร์ดวง. (2566). การพัฒนานโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นในบริบทของระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนทางการเกษตร: กรณีศึกษาบ้านจำปาหมู่ที่ 10 ตำบลเชียงยืนอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(1), 71-85.

นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย, นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์, ธราธร ภูพันเชือก, ณภัทชา ปานเจริญ, นฤมล วลีประทานพร, อรุโนทัย อุ่นไธสง และณัฐวุฒิ ใจกล้า. (2566). การขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มคุณค่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนชายแดนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาอำเภอกาบเชิงจังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 23-42.

เบญญาดา กระจ่างแจ้ง, ญาณิน พัดโสภา และ อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2567). แบบจำลองข้อมูลปัญหาการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 95-108.

ประทีป อูปแก้ว. (2562). การปลูกพืชสลับเพื่อมูลค่าในแปลงมันสำปะหลัง (รายงานการวิจัย). สระแก้ว: มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ. วารสาร วิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 61-74.

อาศยา เพ็ชรผุดผ่อง. (2560). แนวทางแก้ปัญหามันสำปะหลังกรณีศึกษาในอำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.