การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนกลุ่มผุ้ใช้รถใช้ถนนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานจราจร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุ ด้านการประชุมจัดทำแผนการป้องกัน และด้านการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านการรับรู้บทบาท ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พบว่า (1) ควรมีการจัดทำนโยบายแผนงานที่ชัดเจน (2) การสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อแสวงหาข้อมูลอุบัติเหตุ (3) ประชุมร่วมกันจากภาคีเครือข่ายในการประสานความร่วมมือลดปัญหา (4) มีการสื่อสารในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ (5) นำพระราชบัญญัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (6) การปฏิบัติงานจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (7) รับฟังข้อคิดเห็นในการจัดทำแผนร่วมกับภาครัฐ (8) ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดซ่อมแซมป้ายจราจรต่าง ๆ (9) มีการบริการแพทย์ฉุกเฉินไว้บริการประชาชนเมื่ออุบัติเหตุโดยเชื่อมโยงกับเครือข่าย
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). การเสริมสร้างความรอบรู้ดา้นสุขภาพ จาก อสม. สู่อสค. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
นธภร วิโสรัมย์, ณิชาภัทร มณีพันธ์, วรนาถ พรหมศวร และ ภิญญดา สมดี. (2565). ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มไม่ขับของวัยรุ่นชาย ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 12(20), 81-96.
นวพร จารุมณี. (2561). การจัดการความปลอดภัยการจราจรทางถนนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ภาณุพงษ์ หินหล่าย และ ทิพย์จุฑารัตน์ ผูกจิตต์. (2563). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2563). รูปแบบการป้องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4), 625-636.
สำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ชุดรูปแบบบริการในการป้องกัน ควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตเรื้อรัง สำหรับสถานบริการ. กรุงเทพฯ: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.