หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

สุวพิชญ์ บรรลือฤทธิ์
พระครูปลัดเอกพัน สิริวณฺณเมธี (อินจันทึก)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม 2) หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนที่ส่งผลต่อหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม และ 3) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนที่ส่งผลต่อหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความโป่รงใส ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม พบว่า (1) ต้องสร้างการมีส่วนในการตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ จัดทำหรือให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมต้องยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น (2) ควรสร้างหรือเปิดเผยข้อมูลการมีความยุติธรรมและการปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค (3) ควรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย (4) สร้างความคิดสร้างสรรค์โดยการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้และนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOW. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2560). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(26), 149-151.

กุลธิดา มาลาม. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโครงการในศตวรรษที่ 21 กับการผลิตบริการสาธารณะในยุค Thailand 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย 4(3), 189–204.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 99–107.

ชัญญภัทร นกมั่น. (2564). ประสิทธิภาพบทบาทภาวะผู้นำท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 23–35.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. บรรยายพิเศษ. ใน การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

นิศากร หวลจิตร์ และ เสาวนีย์ เจียมจักร. (2561). การศึกษาภาวะผู้นาและทิศทางใหม่เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ชุมชนในยุคไทยแลนด์ 4.0 (รายงานการวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf.

อริสรา ศรีเพ็งตา. (2565). ภาวะผู้นํากับการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2(1), 32–42.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.