การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา บ้านแหลมโฮมสเตย์ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา บ้านแหลมโฮมสเตย์ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (2) เพื่อศึกษาปัญหา/อุปสรรค ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านแหลมโฮมสเตย์ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ จำนวน 7 คน
ผลการศึกษามีดังนี้ 1) การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านแหลมโฮมส พบว่า (1) ด้านการวางแผน มีการกำหนดเป้าหมายขององค์กรในอนาคตว่าต้องทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีการวางแผนงานในการรองรับนักท่องเที่ยว มีการจัดวางแผนงาน เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมในการรองรับนักท่องเที่ยวไว้ล่วงหน้า (2) ด้านการจัดองค์กร มีการจัดโครงสร้างอำนาจหน้าที่แบบเป็นทางการ มีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน (3) ด้านการจัดบุคคลากร ได้มีการจัดบุคคลกรแต่ละฝ่ายที่เหมาะสม แต่ละฝ่ายมีหัวหน้ากลุ่มในการดำเนินงาน บุคคลกรทุกคนมีความรู้ความสามมารถในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี (4) ด้านการอำนวยการ มีการตัดสินใจและสั่งการ การควบคุมงาน โดยมีการประสานงานและเชื่อมโยงงานผ่านการวางบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างองค์กรที่แบ่งไว้ (5) ด้านการประสานงาน ได้มีการประสานงานผ่านประธานกลุ่ม และรองประธานกลุ่มเป็นหลัก ในการกระจายข้อมูลต่างๆ ไปสู่หัวหน้าแต่ละกลุ่มงาน หลังจากนั้นหัวหน้ากลุ่มงานจะประสานเชื่อมดยงงานต่างๆ ไปยังบุคคลากรผู้ใต้บังคับบัญชาต่อไป (6) ด้านการรายงาน สมาชิกภายในกลุ่มจะมีการรายงานผ่านหัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม และหัวหน้ากลุ่มจะมารายงานแก่ประธานกลุ่ม ในการจัดการ หรือหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ และ (7) ด้านงบประมาณ มีการบริหารจัดการงบประมาณในการดำเนินงาน สามารถบริหารจัดการได้ดี 2) ปัญหา/อุปสรรค ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการพัฒนาทักษะ และด้านสาธารณูปโภค 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านแหลมโฮมสเตย์ พบว่า (1) การพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ (2) การประชาสัมพันธ์และทำการตลาด (3) การพัฒนาด้านทักษะความรู้ความสามารถของบุคคลากร และ (4) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค
References
Aka, J. (2019). Management to promote tourism in the southern provinces on the Andaman Coast according to the philosophy of sufficiency economy. Journal of politics, administration and law, 11(2), 425-439. [in Thai].
Economics Tourism and Sports Division .(2024). Summary of the camping situation Number of visitors and income from visitors from January to December 2023. Retrieved February 1, 2024, from https://www.mots.go.th/news/category/705. [in Thai].
Gulick, L. & Urwick, l. (1937). Paper on the science of administration. New York ,Institute of Public Administration.
Jitsomnuk, W. (2023). Consideration factors Before investing in stocks tourism industry. Retrieved March 15, 2024, from https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/article/chaengsibia/article-2023jun13.html. [in Thai].
Khamgerd, T., Rueangrit, U., Sengiamsin, P., Tenwat, J. & Markchan, C. (2020). Community-based Tourism Management Model on the Foundations of Sustainable Community Lifestyles of Tontan Subdistrict Songphinong District, Suphanburi Province. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. [in Thai].
Kueajan, V. (2019). Participative community enterprise development strategy : A Case study of the Ban laem homestay Mangrove conservation group community enterprise Tha sala district, Nakhon si thammarat province. Thammasat (Master’s Thesis). Thammasat University, Bangkok. [in Thai].
Mahawanakul, W., & Prasongsak, N. (2023). How does Thai tourism recover in terms of space?. Retrieved March 15, 2024, from https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/article/chaengsibia/article-2023jun13.html. [in Thai].
Ministry of Tourism and Sports .(2024). International Tourist Arrivals to Thailand Jan - Dec 2023?. Retrieved February 2, 2024, from https://www.mots.go.th/news/category /704. [in Thai].
Ponyothi, M., Nooniam, S., & Sakulwanichcharoen, S. (2022). Sustainable community-based tourism development Guideline: A case study of Taidam community at ban na pa nard, Chiang khan district, Loei province. Journal of International and Thai Tourism, 18(1), 1-25. [in Thai].
Sinchai, P., Rodchuen, P., Charujinda, S., Jongjaihan, A., Chansathitphon, P., Aunruea, P., & Uesuratanachai, M. (2019). The Guideline of Community-Based Tourism Management for sustainability in Bor Suak Sub-district, Muang District, Nan Province. Srinakharinwirot University. [in Thai].