การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • คัคนันท์ มีแก้ว
  • กิจฐเชต ไกรวาส
  • อาภาภรณ์ สุขหอม

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ความรับผิดชอบ, ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน, สวัสดิการ

บทคัดย่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งในทุกด้าน เพื่อสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความหลากหลายและครอบคลุมการดำเนินการในหลายด้านโดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรบุคคล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลาทั้งหมด (พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป) จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยแจกและเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามเก็บจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-Test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                    ผลการวิจัย พบว่าด้านปัจจัยจูงใจ อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ 1) ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ2) ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน 3) ปัจจัยด้านลักษณะงาน 4) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และ5) ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน และด้านค้ำจุน อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ 1) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 2) ด้านนโยบายการบริหาร 3) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) ด้านความมั่นคงในการทำงาน และ5) ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ

References

เสกสรร อรกุล. (2555). ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เมทเทิลคอม จำกัด. การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์: ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากร ส่วนกลางการ. ค้นคว้าอิสระ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหาร ศาสตร์.

อิสรีย์ ไทรตระกูล. (2553). ทฤษฎีแรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: ชนะการพิมพ์ สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี). (2557). โครงสร้างหน่วยงาน. สืบคันเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559, จาก http://drr 11.drr.go.th/th

ธนิตา พัฒนพงศ์. (2559).ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี). (การศึกษาค้นคว้าอิสระ คณะธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

ปริศนา พิมพา. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

สุรีพร สงหมื่นไวย. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์. ขอนแก่น.

ณัฐวรรณ ศุภลาภ. (2543). ความพึงพอใจในการท างานของพนักงานสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร : การศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง ปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

สาวิตรี สองศรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานานของ บุคลากร สา นกังาน เศรษฐกิจการคลัง. Paper presented at the Rangsit Graduate Research Conference: RGRC.

ภูมรินทร์ ทวิชศรี. (2554). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท บริษัท พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

จิราพร ชุมบางหมัง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร บริษัท สีมาธุรกิจ จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

จุฬาลักษณ์ คำดวงดาว. (2553). ประสิทธิภาพการทำงานและการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เอกชน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เทศพร ทรงเกียรติ. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านภูมิสารสนเทศของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

พีระศักดิ์ นิลทะสิน. (2551). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการปกท้องถิ่น สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).

Silva, F. J., & Machado, A. (2019). The evolution of the behavior systems framework and its connection to interbehavioral psychology. Behavioural processes, 158, 117 - 125.

Singh, S. K. (2016). Authentic leadership, work engagement and organizational citizenship behaviors in petroleum company. International Journal of Productivity and Performance Management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-06-2024