ความไว้วางใจของผู้รับบริการประกันภัยรถยนต์ต่อบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ ทองแท้
  • นันธิดา จันทร์ศิริ
  • อาภาภรณ์ สุขหอม

คำสำคัญ:

การไว้วางใจ, ความเชื่อถือ, ความเชื่อมั่น

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความไว้วางใจของผู้รับบริการประกันภัยรถยนต์ต่อ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราชและ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไว้วางใจของผู้รับบริการประกันภัยรถยนต์ต่อ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรวิจัยคือ ผู้ที่ใช้บริการของ  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช ประจำเดือน เดือนเมษายน 2567 จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความไว้วางใจของผู้รับบริการประกันภัยรถยนต์ต่อ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช มีความไว้วางใจในระดับมากที่สุด โดย 1) ด้านความเชื่อมั่น ผู้ใช้บริการมีความรู้สึกเชื่อมั่นในชื่อเสียงของบริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราชและการเป็นที่ยอมรับ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยในด้านการเงินของบริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช 2) ด้านความไว้วางใจต่อการรับบริการประกันภัยรถยนต์ของ บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช มีความเชื่อมั่นในการให้บริการของพนักงานมากที่สุด รองลงมา พนักงานมีการชี้แจงรายละเอียดให้ทราบทุกขั้นตอน 3) ด้านความไว้วางใจต่อการรับบริการประกันภัยรถยนต์ของ บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช ด้านผลิตภัณฑ์ มีความไว้วางใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช มีเงื่อนไขความคุ้มครองชัดเจนและเข้าใจง่าย

  1. เปรียบเทียบความไว้วางใจของผู้รับบริการประกันภัยรถยนต์ต่อ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช พบว่า ผู้รับบริการที่มี เพศ อายุ รายได้ อาชีพ สถานภาพ และระดับการศึกษา ต่างกันมีความไว้วางใจต่อบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครศรีธรรมราช ไม่แตกต่างกัน

 

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน. (2566). แสดงผลประกอบการบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน). กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน.

ประวร ไชยอ้าย. (2561). คุณภาพการให้บริการของฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2547). การตลาดสําหรับการบริการแนวคดิ และกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้รับบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรัณย์กร อัครนนท์จิรเมธ. (2557). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้และคุณภาพการให้บริการที่มีต่อ ความไว้ เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับ มาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการ Fitness แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิททยาลัย, กรุงเทพฯ.

สราลี โรมรัตนพันธ์. (2561). ความไว้วางใจ คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่าและภาพลักษณ์ ส่งผลต่อความพึงพอใจและการกลับมาใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Bourdeau, L. B. 2005. “A new examination of service loyalty: Identification of the antecedents and outcomes of additional loyalty framework”, Ph.D. Dissertation (Business Administration), Florida University, Gainesville, Florida.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67(4), 420-450.

Davis, J. H., Schoorman, F.D., Mayer, R C., & Tan, H.H. (2000). The tusted general manager and business unit performance: Empirical evidence of a competitive advantage. Strategic Management Journal, 21, 563-567

Kotler. (1991). Marketing Management: analysis, planning, implementation, and control. 7th ed.The United States of America: Prentice-Hall, Inc.

Lewiciki, R. J; & Bunker, B. B. (1996). Developing and maintaining trust in work relationships. In R. M. Kramer & T. R. Tyler (Eds.), Trust in organizations: Fronters of theory and research. pp. 114-139. Thousand Oaks, CA: Sage.

Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationshipmarketing. Journal of Marketing

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (Fall 1985). A conceptual model of service qualityand its implications for future research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-12-2024