การพัฒนากิจกรรมและเครือข่ายความร่วมมือการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานวัฒนธรรมวิถีพุทธ อย่างยั่งยืน ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุชาติ ธมฺมกาโม
  • รัษฎา วิชัยดิษฐ
  • วิชญาภา ดำทองสุก

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชน, กิจกรรมและเครือข่ายความร่วมมือ, วัฒนธรรมวิถีพุทธ, จังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมและเครือข่ายความร่วมมือการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานวัฒนธรรมวิถีพุทธ อย่างยั่งยืน ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากประชาชนในอำเภอเมืองชลบุรี จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาศักยภาพและเส้นทางการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=4.09) ควรมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน ปรับปรุงถนนและเส้นทางคมนาคมไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  2. การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=4.24) ควรส่งเสริมการเล่าเรื่องผ่านบุคคลในชุมชน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ให้คนในพื้นที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวพิธีกรรมในท้องถิ่น ให้เกิดความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความสำคัญกับชุมชน
  3. การพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง (=3.48) ควรจัดตั้งศูนย์ข้อมูลหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ มีการจัดทำฐานข้อมูลกลางเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนวิถีพุทธและมีการสำรวจความต้องการของชุมชนในด้านทรัพยากรที่จำเป็น
  4. การยกระดับการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=3.67) ควรสร้างเส้นทางการเข้าถึงวัดหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาควรมีถนนที่ดี มีป้ายบอกทางชัดเจน แสดงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีบริการขนส่งสาธารณะที่สะดวกสบาย สำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ

References

จิระพงค์ เรืองกุน และวิทยา นามเสาร์. (2563). สมรรถนะผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวที่ประสบ ความสำเร็จในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 16(2). 43 – 70.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง กมลรัตน์ ทองสว่าง และธนาวิทย์ กางการ. (2565). การท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีพุทธ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2). 1001 – 1010.

ธนาวดี ปิ่นประชานันท์, ชมพูนุท ภาณุภาส และจุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2565). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโวยจ ในพื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วารสารศิลปะการจัดการ. 6(3), 1348 – 1368.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

ประภาศรี เธียรธุมา, ดรรชนี เอมพันธุ์, นภวรรณ ฐานะกาญจน์พงษ์เขียว. (2565). ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการรับรู้ของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา อ่าวไร่เลอุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 13(1), 87 – 103.

วรวลัญช์ ดอกรัก และพชร สาตร์เงิน. 2566. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ตําบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 6(5), 462 – 480.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (16) ประเด็นเศรษฐกิจฐานราก (พ.ศ.2561-2580). http://nscr.nesdc.go.th/masterplans-16/

อนุวัฒน์ ชมภูปัญญาและธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development. 7(8), 414 – 430.

Eran , (2004). Network theory and small groups. Small Group Research. 35 (3), 307-332.

Pike, (2008). Destination Marketing : anintegrated marketing communication approach, Butterworth – Heinmann, Burlington, MA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2025