พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ) จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อนุสรา อินนุ่น
  • อาภาภรณ์ สุขหอม
  • กิจฐเชต ไกรวาส

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตาม ปัจจัยด้านบุคคคล ส่วนประสมทางการตลาด และแรงจูงใจในการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนวัดยางใหญ่ จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก และด้านราคา อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ในภาพรวมด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านเกียรติภูมิ อยู่ในระดับมาก และด้านการพักผ่อน อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เคยมา 1 ครั้ง รับทราบข้อมูลจากการบอกต่อจากคนรู้จัก / บุคคลใกล้ชิด ไม่ค้างคืน พักอำเภอสิชล / อำเภอขนอม / อำเภอท่าศาลา เดินทางมาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ / วันหยุดนักขัตฤกษ์ / วันหยุดเทศกาล เดินทางมากับคู่ครอง / ครอบครัว / ญาติ เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 - 3,999 บาท การเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว โดยจำแนกตามตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า เพศ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน อายุต่างกัน มีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ทัศนียา กิตติภาคย์พฤทธ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ธิดาภรณ์ ชัยเอียด. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. การศึษาอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เบญจวรรณ บวรกุลภา และคณะ. (2563). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการพัฒนาตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม.

ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 “ฟื้นชีวิตคืนจิตวิญญาณทวาราวดี” วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวาราวดี

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จ.นครปฐม วันที่ 1 กันยายน 2562. หน้า 610-625.

แผนแม่บท 05. (2566). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พูนทรัพย์ เศษศรี. (2566). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(1), 56-57.

ภคมน หงส์คู. (2565). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรพรรณ สงัดศรี. (2558). แรงจูงใจของนักทองเที่ยวที่สงผลตอการตัดสินใจท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในขุมชนบานหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วัดยางใหญ่. (2657). วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ) ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ระบบออนไลน์). https://www.facebook.com/Natthasan26/?locale=th_TH

สถาบันนโยบายสาธารณะ. (2566). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. (ระบบออนไลน์). https://ppi.psu.ac.th/ upload/forum/20_2561-2580.pdf

สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2565-2570. นครศรีธรรมราช : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สุกัญญา พวกสนิท. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรีรัตน์ เตชะทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. เอกสารประกอบการสอน. ขอนแก่น. : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kotler, P. (2000). Marketing management (The millennium ed.). New Jersey: Prentice Hall International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2025